Wednesday, July 8, 2015

การรับบัตร Titre de séjour

มาดามไปรับ Titre de séjour หรือ Carte de séjour temporaire มาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาค่ะ รอนานถึง 2 ชั่วโมงได้ เนื่องจากการทำงานยังเป็นแบบ bureaucracy หรือ ระบบราชการ (ราชการมาก) พูดง่ายๆ ว่า ช้ามาก แถมเจ้าหน้าที่สามารถแว๊บไปสูบบุหรี่นานถึงสิบนาทีโดยไม่สนใจว่าผู้ที่มาติดต่อราชการนั้นจะรอนานแค่ไหน จะรอนานหลายคิว ชีไม่สน แถมพอใกล้เวลาเลิกงาน คือ เกือบบ่ายสองจะติดประกาศไม่รับเรื่องของชาวต่างชาติแล้ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่ประมาณการว่าเมื่อถึงเวลาปิดการจะสามารถให้บริการจากคิวที่กดไปแล้วเท่าใด (เวลาปิดทำการ 16.00 น.) โชคดีที่ได้กดบัตรคิวก่อนเจ้าหน้าที่มาติดประกาศ ใครมาช้าก็อดไป แถมต้องเสียเวลามาใหม่อีกรอบ

นอกจากจะติดประกาศที่เคาน์เตอร์แล้ว ยังติดไว้บนเครื่องกดคิวด้วย โดยจะระบุว่าปิดให้บริการ และระบุหมายเลขสุดท้ายที่ให้บริการ คือ  ถ้ามีบัตรคิวหลังจากหมายเลขที่กำหนดไว้ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจว่าคุณคือคนที่ต้องเสียเวลามาใหม่อีกรอบค่ะ

ไม่อยากบอกว่ามาดามยื่นขอบัตรฯ ล่วงหน้าถึง 3 เดือนค่ะ ก็ไม่เข้าใจว่าจะให้ไปยื่นล่วงหน้าทำไมนานๆ พูดๆ ไปก็เหมือนระบบราชการไทย ไม่รู้ใครเลียนแบบใคร  แต่เดี๋ยวนี้ระบบราชการไทยรอคิวไม่นานแล้ว ค่อนข้างเร็วและเป็นระบบมากชึ้น

เข้าเรื่องการรับบัตร Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire กันค่ะ  มาดามขอแชร์ประสบการณ์การรับบัตรฯ เป็นขั้นตอนนะค่ะ
  1. ก่อนออกจากบ้านให้เตรียมเอกสารสำคัญให้ครบตามที่ระบุไว้ในจดหมายแจ้งให้มารับบัตร  เช่น บัตรแทน หรือ Récépissé de demand de carte de séjour หนังสือเดินทาง จดหมายแจ้งจาก Préfecture
    (สามารถอ่านลิสต์รายการเอกสารได้ที่ http://chezbeameiz.blogspot.fr/2015/07/titre-de-sejour.html)  มาดามขอแนะนำให้เตรียมเอกสารไปให้ครบนะค่ะ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาทั้งของตัวเองและของคนอื่นที่เขายืนต่อคิว คือ ถ้ายังไม่ได้ชำระค่าอากรแสตมป์ ก็ให้แลกกับ la poste ไปล่วงหน้าตามจำนวนที่ระบุไว้ในจดหมาย Convocation ค่ะ ไม่งั้นจะต้องเสียเวลาไปกดคิวสำหรับ la caisse เพื่อไปแลกแสตมป์ แล้วถึงจะกลับมายื่นขอรับบัตรฯอีกครั้ง มันเสียเวลาค่ะ 
  2. กดบัตรคิวที่เครื่อง ตรงช่อง étrangers คือ งานบริการต่างชาติ จากนั้นก็ให้กด retrait คือ มารับบัตร ส่วน demand สำหรับผู้ที่มาติดต่อยื่นขอทำบัตรค่ะ
  3. นั่งรอเรียกหมายเลขบัตรคิว ดูหมายเลขเรียกคิวมี่จอมอนิเตอร์กลาง หรือคอยส่องดูที่ป้ายบนเคาน์เตอร์ หรือ guichet des étrangers
  4. เมื่อถึงคิว ให้ยื่นเอกสารที่เตรียมมา คือ ใบ récépissé de demand de carte de séjour จดหมาย convocation และแสตมป์อากรสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ชำระ และเจ้าหน้าที่จะไปหยิบบัตรฯ พร้อมขอดูหนังสือเดินทาง และให้เซ็นชื่อลงในใบรับบัตร 
มาดูหน้าตาบัตรพำนักชั่วคราว หรือ Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire กันค่ะ (เป็นบัตรเคลือบพลาสติก)

 ด้านหน้าของบัตรพำนักชั่วคราว

 ด้านหลังบัตร

นอกจากจะได้รับบัตรฯ แล้ว เจ้าหน้าที่จะให้กระดาษน้อยมาแผ่นนึง คือ Attestation de remise ที่ฉีกมาจากใบรับที่เราได้เซ็นชื่อเรียบร้อยแล้ว ด้านหน้าของกระดาษแผ่นนี้จะแจ้งว่าบัตรฯที่ได้รับนี้มีการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งระบุข้อมูลตัวเลขต่างๆ พร้อมรูปถ่ายและลายนิ้วมือของผู้ถือบัตร โดยมีข้อมูลหมายเลข (1) ถึง (12) ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคล

ด้านหลัง Attestation de remise

จะแจ้งว่าบัตร Titre de séjour ของคุณเป็นแบบ smart card คือ ชิพอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลบุคคลและลายนิ้วมือ ซึ่งป้องกันการปลอมแปลงบัตรฯ และเป็นการจัดทำตามกฎหมายมาตรา 78-17 วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1978

จะเห็นได้ว่าข้อมูลส่วนตัวที่เป็นตัวเลขในบัตรฯ มีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขของบัตร Titre de séjour เอง หมายเลข AGDREF ของชาวต่างชาติอย่างเราๆ และหมายเลขประจำตัวของคนไทย ซึ่งเป็นข้อมูลตัวเลขเฉพาะบุคคลที่สำคัญของผู้ถือบัตรด้วย โดยอ้างอิงจากหนังสือเดินทาง แต่หมายเลขนี้ไม่ใช่หมายเลขของหนังสือเดินทาง เพราะหมายเลขนี้ไม่เปลี่ยน ไม่เหมือนหมายเลขหนังสือเดินทางที่เปลี่ยนทุกครั้งที่ออกเล่มใหม่มันคือหมายเลขที่ระบุ ปีค.ศ. เดือน วันที่เกิดของผู้ถือหนังสือเดินทาง และหมายเลขนี้จะปรากฎในวีซ่าค่ะ ลองไปสังเกตุดูนะค่ะ หมายเลขจะขึ้นด้วย THA เหมือนกัน จากนั้นก็ต่างกันตรงปี เดือน วันที่เกิดของแต่ละคน

F คือ เพศหญิง (ไม่ใช้ F ที่มาจาก officiel หรือหนังสือเดินทางราชการ นะค่ะ อิอิ)

มาดามก็เพิ่งสังเกตุเห็นหลังจากที่ได้รับบัตร Titre de séjour มาครอบครองแล้วค่ะ สาวๆ ลองส่องดูข้อมูลส่วนตัวในหนังสือเดินทางของตัวเองดูนะค่ะ

ตอนนี้ไปไหนมาไหน ไม่ต้องพกหนังสือเดินทางแล้วค่ะ พกแค่ titre de séjour ใบเดียวพอ (ใช้เดินทางในฝรั่งเศส ถ้าบินไปต่างประเทศก็ยังต้องพกหนังสือเดินทางไปด้วยนะค่ะ)

หวังว่าข้อมูลที่มาดามนำมาแชร์จะเป็นประโยชน์นะค่ะ

No comments:

Post a Comment