มาดามเลยขอมาอัพเดทถึงการขอรับสิทธิประกันสังคมที่ได้มีการปฏิรูปใหม่นี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับสะใภ้ใหม่ ๆ ที่กำลังจะย้ายมาอยู่ที่ฝรั่งเศส
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 (ค.ศ. 2016) ประกันสังคมจะคุ้มครองแบบครอบคลุมแบบจักรวาล
หรือ la protection universelle maladie (PUMA) หมายถึง บุคคลที่บรรลุนิติภาวะทุกคน (18
ปีขึ้นไป) ที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส ถึงแม้จะไม่ได้ประกอบอาชีพ จะได้รับความคุ้มครอง
พูดง่าย ๆ ทุกคนที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสสามารถได้รับสิทธิคุ้มครองด้านการรักษาสุขภาพ
และได้ยกเลิกการขอพ่วงใช้สิทธิ หรือใช้สิทธิประกันสังคมของสามี คือ ไม่ต้องยื่นขอความคุ้มครองเพิ่มเติมอีกแล้ว จากเดิมที่ต้องกรอกแบบฟอร์มขอใช้สิทธิร่วมกับสามี
หรือ ayant droit นั้น ไม่มีอีกต่อไป ดังนั้น ข้อมูลที่เคยนำมาแชร์ในปี 2014-2015
นั้น ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องแบบฟอร์มในการขอ Carte Vitale และยกเลิก
CMU หรือ la couverture maladie universelle de base
ก่อนการปฏิรูปกฎหมายนี้ คนที่สามารถมี Carte Vitale ได้ คือ
คนที่มีงานทำ และมีการกำหนดระยะเวลาด้วยว่าต้องมีระยะเวลาในการทำงานขั้นต่ำเท่าใด
จึงจะมีสิทธิได้ใช้สิทธิประกันสังคม ส่วนภรรยาที่ไม่ได้ทำงาน
และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จำต้องขอใช้สิทธิร่วมกับสามี
กรณีที่ไม่มีงานทำ รัฐบาลฝรั่งเศสก็ไม่ได้นิ่งดูดาย
รัฐจัดให้มี CMU หรือ la couverture maladie universelle de base สำหรับผู้ที่ไม่มีงานทำ
ไม่มีรายได้ แต่ CMU
ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559 โดยจะใช้ PUMA หรือ la protection
universelle maladie แทน
CMU ต่างจาก PUMA อย่างไร
CMU เป็นสิทธิประกันสังคมสำหรับผู้ที่ไม่มีงานทำ
ไม่มีรายได้
PUM เป็นสิทธิประกันสังคมสำหรับทุกคนที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส
ไม่ว่าจะมีงานทำ หรือไม่มี ไม่ว่าจะเป็นผู้อพยพ ลี้ภัยสงครามมา ต่างก็มีสิทธิขอรับประโยชน์ใช้ประกันสังคมได้
PUM เป็นสิทธิเฉพาะบุุคคล คือ ไม่มีการใช้สิทธิพ่วง ยกเว้น
ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ คือ ยังไม่ถึง 18 ปี ก็ยังต้องใช้สิทธิของผู้ปกครองไป
(อายุ 16 ปี สามารถยื่นเรื่องขอได้)
สำหรับคนที่ใช้สิทธิร่วมกับสามีไปแล้ว ก็ไม่มีปัญหาอะไร
สามารถใช้สิทธินั้นตามเดิมได้ แต่ถ้าอยากเปลี่ยนมาใช้สิทธิของตัวเอง
ไม่อยากใช้สิทธิร่วมกับสามีอีกต่อไป ก็ต้องยื่นเรื่องขอสิทธิใหม่
แต่คงไม่มีใครอยากขอใหม่ เพราะต้องเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมดอีกรอบ!
ข้อมูลที่นำมาอัพเดทให้ทราบนี้ นำมาจากเว็บไซท์ของ
L’Assurance Maladie หรือ AMELI
สามารถอ่านข้อมูลเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ที่ http://www.ameli.fr/assures/droits-et-demarches/par-situation-professionnelle/vous-etes-sans-emploi/vous-n-avez-pas-d-activite-professionnelle_vaucluse.php
คุณสมบัติสำหรับผู้ที่จะขอรับสิทธิประกันสังคม
·
ต้องมีสัญชาติฝรั่งเศส
หรือ
·
ต้องอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส
คือ อยู่มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป (ต้องอยู่แบบไม่ได้เข้า ๆ ออก ๆ)
อยู่แบบประจำถาวรก็ว่าได้ และต้องมีวีซ่าหรือ Carte de séjour
ทั้งนี้เงื่อนไขเวลาอยู่ประจำในประเทศฝรั่งเศสมากกว่า 3 เดือน
จะไม่สามารถปรับใช้กับบุุคคลดังต่อไปนี้
*
ผู้ที่ทำสัญญาเข้ามาฝึกงานในฝรั่งเศส
เช่น แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม งานวิจัย;
*
ผู้ที่ได้รับประโยชน์เกี่ยวกับครอบครัว
ความช่วยเหลือทางสังคม ความช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย หรือผู้สูงอายุ;
*
ผู้อพยพลี้ภัย
หรือขอลี้ภัย;
*
อาสาสมัครระหว่างประเทศ;
*
คู่สมรส PACS
สำหรับกรณีคู่สมรสต่างชาติ
แบบสะใภ้ฝรั่งเศส จะทำอย่างไร
ขั้นตอนในการยื่นขอ Carte Vitale และรับสิทธิประกันสังคม
มีดังนี้
1. ให้กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม สามารถโหลดได้ตามลิ้งค์ http://www.ameli.fr/fileadmin/user_upload/formulaires/735.cnamts.pdf
แบบฟอร์มขอรับสิทธิประกันสังคม จะมี 2 หน้า หน้าแรกจะให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล
- กรอกชื่อ โดยให้กรอกนามสกุลเดิม (ตามใบสูติบัตร) ต่อด้วยนามสกุลสามี และตามด้วยชื่อจริง (ในการกรอกนามสกุล ต้องเขียน หรือ พิมพ์ด้วยตัวใหญ่หมด ส่วนชื่อจริงจะเขียนตัวใหญ่แค่ตัวอักษรตัวแรกเท่านั้น)
- ข้ามมากรอกวันเดือนปีเกิดเลย เพราะเราเป็นต่างชาติ ไม่มีหลายเลขประกันสังคมเหมือนคนฝรั่งเศส ในการกรอกวันเดือนปีเกิด จะกรอกแบบ XX XX XXXX คือ วันที่ เดือน และ ค.ศ. เช่น 09 04 1975 เกิดวันที่ 9 เดือนเมษายน ค.ศ. 1975 (ดูตามหนังสือเดินทางเอา)
- กรอกชื่อเมืองที่เกิด ตามด้วยชื่อประเทศ คือ THAÏLANDE
- สัญชาติ ให้ติ๊กที่ช่อง autre คือ อื่น ๆ และเขียนว่า Thaïlandaise สัญชาติไทย
- กรอกที่อยู่ คือ เลขที่บ้าน ชื่อถนน รหัสไปรษณีย์ และชื่อเมือง (การเขียนชื่อเมืองต้องเขียนตัวใหญ่หมด)
- ข้ามข้อที่บอกว่าถ้าไม่มีที่อยู่ส่วนบุคคล ให้กรอกที่อยู่องค์กร อาจจะเป็นที่ทำงาน ที่เลือกให้เป็นที่อยู่
- กรอกอีเมล์ที่จะให้ติดต่อ และเบอร์โทรศัพท์
- ติ๊กเลือกว่าจะให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับที่อีเมล์ที่ให้ไว้นี้หรือไม่
ส่วนถัดไป คือ การลงนาม หรือเซ็นชื่อ
หน้าที่ 2 ของแบบฟอร์ม จะเป็นรายการเอกสารที่ต้องแนบ
2. แนบเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์ม (ซึ่งบังคับใช้สำหรับทุกกรณี) แต่สำหรับชาวต่างชาติ
แบบสะใภ้ฝรั่งเศส เอกสารที่ต้องเตรียม (รายการเอกสารไม่ได้ต่างจากแบบฟอร์มตามกฎหมายเดิม)
มีดังนี้
2.1 สำเนาใบสูติบัตรที่มีการรับรองจากกรมการกงสุล
พร้อมใบแปลจากผู้แปลที่มีรายชื่อขึ้นกับกระทรวงยุติธรรมฝรั่งเศส
รายชื่อผู้แปล http://www.thaiembassy.fr/wp-content/uploads/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%AA.pdf และ http://www.tsp.online.fr/spip.php?article92
**เพิ่มเติม สำหรับใบสูติบัตร
เนื่องจากประเทศไทยเราจะให้ฉบับจริงกับเราไว้
จึงไม่ต้องไปขอกับเขตที่เราเกิดทุกครั้งเหมือนคนฝรั่งเศส เพราะเอกสารฝรั่งเศสจะมีอายุการใช้ได้แค่
3 เดือน ส่วนใบสูติบัตรไทยไม่มีวันหมดอายุ จึงอาจจะเกิดปัญหาเรื่องเอกสาร
โดยเฉพาะใบสูติบัตรกับบาง Préfecture หรือส่วนงานราชการของฝรั่งเศส ที่มักจะไม่เข้าใจเรื่องอายุของเอกสารของไทย
ดังนั้น จึงควรสำเนาใบ Certifcat de coutume ที่ขอจากสถานทูตไทย
ณ กรุงปารีส ตอนที่ใช้จดทะเบียนสมรสในฝรั่งเศส ถ้าไม่มีก็เข้าไป copy
จากกระทู้บ้านสะใภ้ฝรั่งเศส ซึ่งคุณ Clementine
เป็นเจ้าของสำเนาเอกสารและเป็นผู้โพสแชร์ให้นำไปใช้ http://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=20296
ใน Certificat de coutume หรือ
ใบประเพณีที่ออกโดยสถานทูตไทยฯ นี้ จะระบุไว้ชัดเจนว่าใบสูติบัตรไทย (ฉบับจริง)
เป็นเอกสารสำคัญ ที่ออกให้ฉบับเดียวสำหรับการแจ้งเกิด
การสมรสและหย่าจะไม่ปรากฎในใบสูติบัตร “En Thaïlande, l’acte de naissance origine
est une pièce unique, il est délivré qu’une seule fois à la décaration de
naissance. Le mariage est le divorce ne sont pas mentionnés sur l’acte de
naissance.”
สำหรับคนที่เปลี่ยนชื่อมา คือ ชื่อไม่ตรงกับใบสูติบัตร
ต้องรับรองใบเปลี่ยนชื่อกับกรมการกงสุล และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีการรับรองแล้ว
พร้อมแปล (เพราะในทะเบียนบ้านจะมีการขีดฆ่าชื่อเดิมออกไป
พร้อมมีลายเซ็นเจ้าหน้าที่เขต) และต้องเขียนจดหมายอธิบายว่ากฎหมายไทยอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อได้
พระราชบัญญัติ ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505
มาตรา 16 ผู้มีชื่อตัวหรือชื่อรองอยู่แล้วประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว
หรือชื่อรอง
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เมื่อนายทะเบียนท้องที่เห็นว่าชื่อตัว
หรือชื่อรองที่ขอเปลี่ยนใหม่นั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้ ก็ให้อนุญาตและออก
หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้
2.2 สำเนาหนังสือเดินทาง หน้าแรก
2.3 สำเนา Stamp OFII หรือ สำเนา carte de séjour
ทั้งนี้ อาจมีการเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้
สำหรับการยืนยันว่าอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศสจริง เช่น
สัญญาเช่าบ้าน บิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่าโทรศัพท์ สลิปเงินเดือน
ทั้งนี้ต้องเตรียมเอกสารย้อนหลัง 3 เดือน
กรณีที่ไม่ได้เป็นผู้เช่าบ้าน หรือเจ้าของบ้าน
ให้สามีหรือเจ้าของบ้านเขียนหนังสือรับรองว่าเราอาศัยอยู่จริง
3. นำแบบฟอร์มและเอกสารต่าง ๆ หรือไปยื่น
ณ สำนักงาน l’Assurance Maladie ที่ขึ้นตรง ด้วยตนเองพร้อมสามี
หรือจะจัดส่งทางไปรษณีย์ก็ได้
4. รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมาว่าต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมหรือไม่
5. มีจดหมายจากศูนย์ทำบัตร Carte Vitale ให้ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูล เช่น ชื่อ
นามสกุล วันเดือนปีเกิด พร้อมแจ้งให้ติดรูปถ่ายและแนบเอกสารกลับไป
รายการเอกสารที่ต้องส่งไป
ซึ่งระบุไว้ในหนังสือแนบ มีดังนี้
·
รูปถ่าย สี ขนาด 2x2" (ลอกกระดาษบนหนังสือออก
และแปะรูปลงไป)
·
สำเนาหนังสือเดินทาง
·
สำเนาหน้าวีซ่าและหน้า Titre de séjour ที่ OFII ประทับให้
(มาดามส่งเผื่อไป)
6. รอ Carte Vitale ประมาณ 15 วันทำการ หรือ 3 สัปดาห์
รายชื่อประเทศในสหภาพยุโรป : เยอรมนี ออสเตรีย เบลเยี่ยม บัลแกเรีย ไซปรัส โครเอเชีย เดนมาร์ก สเปน เอสโตเนีย ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ กรีซ ฮังการี ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลิกเตนสไตน์ ลักเซมเบิร์ก มอลตา นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส สาธารณรัฐเช็กโรมาเนีย อังกฤษ สโลวาเกีย สโลเวเนีย สวีเดน
ถ้าผู้ที่มีสัญชาตินอกเหนือ EEE หรือไม่ได้ถือสัญชาติในกลุุ่มประเทศสหภาพยุโรปและสวืส ไม่ได้อาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศสแบบถาวร คือ เดินทางเข้าออกบ่อย ไม่ได้อยู่นาน ก็ต้องขอรับความคุ้มครองแบบความช่วยเหลือทางด้านการรักษาแห่งรัฐ หรือ l’aide médicale d’Etat (AME)
* Liste des États de l'EEE : Allemagne, Autriche, Belgique, Bulgarie, Chypre, Croatie, Danemark, Espagne, Estonie, France, Finlande, Grèce, Hongrie, Irlande, Islande, Italie, Lettonie, Liechtenstein, Lituanie, Luxembourg, Malte, Norvège, Pays-Bas, Pologne, Portugal, République tchèque, Roumanie, Royaume-Uni, Slovaquie, Slovénie, Suède.