Tuesday, July 21, 2015

กฎหมายปรับใหม่สำหรับ Carte de séjour

เมื่อวานมาดามวุ่นวายอยู่ในครัว ทำอาหารเย็น ล้างจาน หาอะไรทำให้ยุ่งๆ เข้าไว้ เพื่อจะได้ไม่คิดมาก ไม่เครียด มาอยู่ต่างบ้าน ต่างเมือง ใครว่าสบาย ไกลญาติ นี่แหละคือ ปัญหาที่ทำให้จิตตก เพราะไม่มีใครช่วยดูแลพ่อ ดูแลป้า คงมีหลายคนที่รู้สึกแบบนี้ เอาเป็นว่ามาเข้าประเด็นสำคัญกันดีกว่าคะ เนื่องจากเมื่อวานมีการเสนอข่าวเรื่องปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับเราโดยตรง นั่นคือ การขอบัตร Carte de séjour temporaire หรือ  Titre de séjour ที่สะใภ้ฝรั่งเศสทั้งหลายต้องทำทุกปีจนกว่าจะได้บัตร 10 ปี หรือ Carte de résidence
ถ้ากฎหมายแก้ไขใหม่นี้ประกาศใช้เมื่อไหร่ ก็จะทำให้สะใภ้ฯ ไม่ต้องไป la préfecture ทุกปีเพื่อขอทำบัตรอีกต่อไป เพราะกฎหมายที่กำลังพิจารณาในสภาอยู่ ณ ขณะนี้ จะเปลี่ยนจากบัตร 1 ปี เป็นบัตร 2 ปี และ 4 ปี แล้วแต่กรณี ทำไมถึงเพิ่งคิดได้ว่าอายุบัตร 1 ปี มันสั้นเกินไป แป๊บๆ ก็ต้องมาขอบัตรใหม่แล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้น มาดามก็ไม่ได้ประโยชน์มากจากการปรับแก้กฎหมายนี้ เพราะได้บัตร 1 ปีมาแล้ว แต่สะใภ้ที่จะไปต่อบัตรหลังจากนี้จะสบาย ได้รับบัตร 2 ปีมาครอบครองแน่ๆ

เมื่อวานมาดามได้ทำสรุปเรื่องวงจรชีวิตของสะใภ้ฯ ที่ต้องไปยื่นขอทำ carte de séjour ทุกๆ  10 เดือน ต่อจากนี้ไป ชีวิตของเราๆ จะสบายขึ้นนิดนึง คือ ข้ามขั้นตอนที่ต้องมาเตรียมเอกสารและไปยื่นขอบัตรทุก 10 เดือน เพราะเขาจะเปลี่ยนมาเป็นบัตร 2 ปี และ 4 ปี แล้วแต่กรณี ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า "une carte de séjour pluriannuelle" พอบัตร 2 ปีใกล้หมดอายุ เราก็สามารถขอบัตร 10 ปีได้

กฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน
-สะใภ้ฯ ต้องยื่นขอ carte de séjour เมื่อครบทุก 10 เดือน (บัตรมีอายุ 1 ปี แต่ต้องยิ่นขอทำบัตรใหม่ก่อนวันหมดอายุ 2 เดือนล่วงหน้า) 
-ต้องยื่นขอ carte de séjour  2 ครั้ง คือ อยู่ฝรั่งเศส 3 ปี จึงขอบัตร 10 ปี หรือ carte de résidence ได้ (วีซ่า 1 ปีจากไทย + ขอ carte de séjour ครั้งที่ 1 + ขอ carte de séjour ครั้งที่ 2 = อยู่ฝรั่งเศส 3 ปี)

กฎหมายที่ปรับแก้ใหม่
-สะใภ้ฯ ยื่นขอ carte de séjour de pluriannuelle ครั้งแรก เมื่อวีซ่าที่ได้มาจากไทยใกล้หมดอายุ (2 เดือนล่วงหน้า) บัตรมีอายุ 2 ปี หรือ 4 ปี แล้วแต่กรณี
-ยื่นขอบัตร 10 ปี ก่อนบัตรหมดอายุ (วีซ่า 1 ปีจากไทย + ขอ carte de séjour ครั้งเดียว = อยู่ฝรั่งเศส 3 ปี)

ลองมาดูกราฟกันคะ เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น



 ถ้ามีการประกาศใช้กฎหมายฉบับแก้ไขปรับปรุงนี้เมื่อไหร่ มาดามจะมาอัพเดทให้ฟังอีกครั้งคะ ตอนนี้ทราบแต่ภาพรวมว่าจะเป็นการออกบัตร 2 ปี ส่วนเรื่องอื่นยังไม่ทราบ เช่น คนที่ได้บัตร 1 ปี แล้วจะได้รับบัตร 2 ปีมาแทนไหม จะมีการแก้ไขอายุ contrat กับ OFII หรือไม่  criteria ในการขอบัตร 10 ปี จะเปลี่ยนไหม เราก็ได้แต่รอฟังข่าวกันต่อไปคะ

Monday, July 20, 2015

Time line ของการย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ฝรั่งเศส

ช่วงนี้เป็นช่วง vacances ของชาวฝรั่งเศส มาดามไม่มีเรียนกับ APP เพราะปิดเทอม ชีวิตผ่อนคลายค่ะ เพราะไม่ต้องปวดหัวกับแบบฝึกหัด 555 วันนี้เลยถือโอกาศทำสรุปเรื่อง Time line หรือขั้นตอนการย้ายถิ่นฐานมาอยู่กับสามีที่ฝรั่งเศส เผื่อว่าสาวๆ สะใภ้ป้ายแดง จะเข้าใจถึงภาพรวมว่าชีวิตต้องวุ่นวายกับเรื่องเอกสารมากมายขนาดไหน ตั้งแต่เริ่มแรกทีจะย้ายมาอยู่ที่ฝรั่งเศสแล้ว และชีวิตต้องเตรียมเอกสาร หรือทำอะไรบ้าง โดยเฉพาะในปีแรกที่ย้ายมาอยู่

มาดูกันคะว่าชีวิตของสะใภ้ใหม่ต้องทำอย่างไรบ้าง

คร่าวๆ สามารถแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ซึ่งสำคัญมาก
1. การขอวีซ่า
  • สำหรับคนที่ต้องการมาจดทะเบียนสมรสที่ประเทศฝรั่งเศส ก็ต้องยื่นขอวีซ่าแต่งงาน ระยะสั้น กับ TLS พอจดทะเบียนกับ la mairie แล้วก็ต้องบินกลับมาขอวีซ่าย้ายถิ่นฐานที่ไทย
  • สำหรับคนที่จดทะเบียนสมรสแล้วที่ไทย ก็ขอยื่นวีซ่าย้ายถิ่นฐานได้เลย

2. การทดสอบภาษาฝรั่งเศสและความรู้เบื้องต้นเรื่องกฎหมายและสิทธิ สอบกับ OFII Bangkok
  • สอบผ่านครั้งแรก รอประมาณ 2 วัน จะได้รับวีซ่าย้ายถิ่นฐาน (วีซ่ามีอายุ 1 ปี)
  • สอบไม่ผ่าน ได้เรียนภาษาฝรั่งเศสฟรี 40 ชั่วโมง
3. เดินทางไปฝรั่งเศส พอเหยียบแตะถึงพื้นดินของประเทศฝรั่งเศส ต้องรีบสำเนาหน้าหนังสือเดินทาง และกรอกแบบฟอร์มที่สถานทูตฝรั่งเศสแนบมากับหนังสือเดินทาง และส่งไปรษณีย์ (แบบลงทะเบียน) ไปยัง OFII ที่ชึ้นอยู่ หรือจะไปหย่อนกล่องที่ OFII เองเลยก็ได้ ที่สำคัญ ต้องติดป้ายชื่อที่ตู้รับจดหมายที่บ้านตัวเองด้วย (ทำไมต้องรีบส่ง? เพราะวีซ่าที่ได้มาจากไทยยังมีผลไม่สมบูรณ์ หากปราศจากแสตมป์ OFII) และรอจดหมายจาก OFII (อ่านเพิ่มที่ http://chezbeameiz.blogspot.fr/2014/09/ofii-stamp.html )

4. ไปตรวจร่างกาย ชำระค่าแสตมป์ สัมภาษณ์ และเซ็นสัญญากับ OFII สัญญาที่ผูกมัดเรากับ OFII เป็นเวลา 1 ปี เรียกว่า Contrat d'accueil et d'intégration จากนั้นก็รอ OFII นัดอบรมต่างๆ เช่น การใช้ชีวิตอยู่ สิทธิ กฎหมาย การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์ แนะนำเรื่องการหางาน และเรียนภาษาฝรั่งเศส อันหลังนี้แล้วแต่งบประมาณของแต่ละ OFII และโชคของแต่ละคน ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เรียนฟรีกับ OFII (มาดามก็ไม่ได้เรียน)

5. ระหว่างรออบรม ให้ยื่นขอ Carte Vitale กับ L'Assurance Maladie สามารถอ่านรายละเอียดขั้นตอนและรายการเอกสารได้ที่ http://chezbeameiz.blogspot.fr/2015/01/la-carte-vitale.html

6. พอใกล้ครบปี คือ ก่อนวีซ่าในหนังสือเดินทางหมดอายุ 2 เดือน ให้ไปยื่นขอ Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire กับ la Préfecture สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://chezbeameiz.blogspot.fr/2015/03/carte-de-sejour.html
การรับบัตรอ่านได้ที่ http://chezbeameiz.blogspot.fr/2015/07/titre-de-sejour_8.html

ในปีแรก ชีวิตของสะใภ้ฯ จะยึ่งวุ่นวายกับ OFII พออบรมครบตาม Contrat ก็หมดภาระแล้วคะ จากนั้นก็วุ่นวายกับ la Préfecture ไปทุกๆ ปี ตาม cycle หรือวงจรในรูป จนกว่าจะได้บัตร 10 ปี และสัญชาติตามลำดับ ชีวิตในประเทศฝรั่งเศสขึ้นอยู่กับเอกสารมากมายคะ ถึงจะวุ่นวาย เอกสารมากมาย แค่ทำตามกฎระเบียบ ก็ไม่ได้ยุ่งยาก ไม่ต้องกังวล แค่เสียเวลานิดนึงเท่านั้นเอง

Wednesday, July 8, 2015

การรับบัตร Titre de séjour

มาดามไปรับ Titre de séjour หรือ Carte de séjour temporaire มาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาค่ะ รอนานถึง 2 ชั่วโมงได้ เนื่องจากการทำงานยังเป็นแบบ bureaucracy หรือ ระบบราชการ (ราชการมาก) พูดง่ายๆ ว่า ช้ามาก แถมเจ้าหน้าที่สามารถแว๊บไปสูบบุหรี่นานถึงสิบนาทีโดยไม่สนใจว่าผู้ที่มาติดต่อราชการนั้นจะรอนานแค่ไหน จะรอนานหลายคิว ชีไม่สน แถมพอใกล้เวลาเลิกงาน คือ เกือบบ่ายสองจะติดประกาศไม่รับเรื่องของชาวต่างชาติแล้ว เนื่องจากเจ้าหน้าที่ประมาณการว่าเมื่อถึงเวลาปิดการจะสามารถให้บริการจากคิวที่กดไปแล้วเท่าใด (เวลาปิดทำการ 16.00 น.) โชคดีที่ได้กดบัตรคิวก่อนเจ้าหน้าที่มาติดประกาศ ใครมาช้าก็อดไป แถมต้องเสียเวลามาใหม่อีกรอบ

นอกจากจะติดประกาศที่เคาน์เตอร์แล้ว ยังติดไว้บนเครื่องกดคิวด้วย โดยจะระบุว่าปิดให้บริการ และระบุหมายเลขสุดท้ายที่ให้บริการ คือ  ถ้ามีบัตรคิวหลังจากหมายเลขที่กำหนดไว้ ก็ต้องขอแสดงความเสียใจว่าคุณคือคนที่ต้องเสียเวลามาใหม่อีกรอบค่ะ

ไม่อยากบอกว่ามาดามยื่นขอบัตรฯ ล่วงหน้าถึง 3 เดือนค่ะ ก็ไม่เข้าใจว่าจะให้ไปยื่นล่วงหน้าทำไมนานๆ พูดๆ ไปก็เหมือนระบบราชการไทย ไม่รู้ใครเลียนแบบใคร  แต่เดี๋ยวนี้ระบบราชการไทยรอคิวไม่นานแล้ว ค่อนข้างเร็วและเป็นระบบมากชึ้น

เข้าเรื่องการรับบัตร Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire กันค่ะ  มาดามขอแชร์ประสบการณ์การรับบัตรฯ เป็นขั้นตอนนะค่ะ
  1. ก่อนออกจากบ้านให้เตรียมเอกสารสำคัญให้ครบตามที่ระบุไว้ในจดหมายแจ้งให้มารับบัตร  เช่น บัตรแทน หรือ Récépissé de demand de carte de séjour หนังสือเดินทาง จดหมายแจ้งจาก Préfecture
    (สามารถอ่านลิสต์รายการเอกสารได้ที่ http://chezbeameiz.blogspot.fr/2015/07/titre-de-sejour.html)  มาดามขอแนะนำให้เตรียมเอกสารไปให้ครบนะค่ะ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาทั้งของตัวเองและของคนอื่นที่เขายืนต่อคิว คือ ถ้ายังไม่ได้ชำระค่าอากรแสตมป์ ก็ให้แลกกับ la poste ไปล่วงหน้าตามจำนวนที่ระบุไว้ในจดหมาย Convocation ค่ะ ไม่งั้นจะต้องเสียเวลาไปกดคิวสำหรับ la caisse เพื่อไปแลกแสตมป์ แล้วถึงจะกลับมายื่นขอรับบัตรฯอีกครั้ง มันเสียเวลาค่ะ 
  2. กดบัตรคิวที่เครื่อง ตรงช่อง étrangers คือ งานบริการต่างชาติ จากนั้นก็ให้กด retrait คือ มารับบัตร ส่วน demand สำหรับผู้ที่มาติดต่อยื่นขอทำบัตรค่ะ
  3. นั่งรอเรียกหมายเลขบัตรคิว ดูหมายเลขเรียกคิวมี่จอมอนิเตอร์กลาง หรือคอยส่องดูที่ป้ายบนเคาน์เตอร์ หรือ guichet des étrangers
  4. เมื่อถึงคิว ให้ยื่นเอกสารที่เตรียมมา คือ ใบ récépissé de demand de carte de séjour จดหมาย convocation และแสตมป์อากรสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ชำระ และเจ้าหน้าที่จะไปหยิบบัตรฯ พร้อมขอดูหนังสือเดินทาง และให้เซ็นชื่อลงในใบรับบัตร 
มาดูหน้าตาบัตรพำนักชั่วคราว หรือ Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire กันค่ะ (เป็นบัตรเคลือบพลาสติก)

 ด้านหน้าของบัตรพำนักชั่วคราว

 ด้านหลังบัตร

นอกจากจะได้รับบัตรฯ แล้ว เจ้าหน้าที่จะให้กระดาษน้อยมาแผ่นนึง คือ Attestation de remise ที่ฉีกมาจากใบรับที่เราได้เซ็นชื่อเรียบร้อยแล้ว ด้านหน้าของกระดาษแผ่นนี้จะแจ้งว่าบัตรฯที่ได้รับนี้มีการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งระบุข้อมูลตัวเลขต่างๆ พร้อมรูปถ่ายและลายนิ้วมือของผู้ถือบัตร โดยมีข้อมูลหมายเลข (1) ถึง (12) ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคล

ด้านหลัง Attestation de remise

จะแจ้งว่าบัตร Titre de séjour ของคุณเป็นแบบ smart card คือ ชิพอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อมูลบุคคลและลายนิ้วมือ ซึ่งป้องกันการปลอมแปลงบัตรฯ และเป็นการจัดทำตามกฎหมายมาตรา 78-17 วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1978

จะเห็นได้ว่าข้อมูลส่วนตัวที่เป็นตัวเลขในบัตรฯ มีเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขของบัตร Titre de séjour เอง หมายเลข AGDREF ของชาวต่างชาติอย่างเราๆ และหมายเลขประจำตัวของคนไทย ซึ่งเป็นข้อมูลตัวเลขเฉพาะบุคคลที่สำคัญของผู้ถือบัตรด้วย โดยอ้างอิงจากหนังสือเดินทาง แต่หมายเลขนี้ไม่ใช่หมายเลขของหนังสือเดินทาง เพราะหมายเลขนี้ไม่เปลี่ยน ไม่เหมือนหมายเลขหนังสือเดินทางที่เปลี่ยนทุกครั้งที่ออกเล่มใหม่มันคือหมายเลขที่ระบุ ปีค.ศ. เดือน วันที่เกิดของผู้ถือหนังสือเดินทาง และหมายเลขนี้จะปรากฎในวีซ่าค่ะ ลองไปสังเกตุดูนะค่ะ หมายเลขจะขึ้นด้วย THA เหมือนกัน จากนั้นก็ต่างกันตรงปี เดือน วันที่เกิดของแต่ละคน

F คือ เพศหญิง (ไม่ใช้ F ที่มาจาก officiel หรือหนังสือเดินทางราชการ นะค่ะ อิอิ)

มาดามก็เพิ่งสังเกตุเห็นหลังจากที่ได้รับบัตร Titre de séjour มาครอบครองแล้วค่ะ สาวๆ ลองส่องดูข้อมูลส่วนตัวในหนังสือเดินทางของตัวเองดูนะค่ะ

ตอนนี้ไปไหนมาไหน ไม่ต้องพกหนังสือเดินทางแล้วค่ะ พกแค่ titre de séjour ใบเดียวพอ (ใช้เดินทางในฝรั่งเศส ถ้าบินไปต่างประเทศก็ยังต้องพกหนังสือเดินทางไปด้วยนะค่ะ)

หวังว่าข้อมูลที่มาดามนำมาแชร์จะเป็นประโยชน์นะค่ะ

Thursday, July 2, 2015

หนังสือแจ้งให้ไปรับ Titre de séjour

ตั้งแต่ไปเรียนภาษาฝรั่งเศสกับ APP มาดามไม่ค่อยมีเวลามาอัพเดทข่าวสารและความรู้ พอดีวีคนี้ได้รับจดหมายที่รอมาหลายเดือน จดหมายจาก Préfecture du Bas-Rhin แจ้งให้ไปรับ titre de séjour ค่ะ

Titre de séjour กับ Carte de séjour ต่างกันไหม
สำหรับสะใภ้ใหม่ที่เพิ่งย้ายมาอยู่ที่ดินแดนน้ำหอม เมื่อวีซ่าระยะยาวที่ได้มาจากกรุงเทพฯ หมดอายุ ต้องไปยื่นขอ Titre de séjour เป็นบัตรพำนักในประเทศฝรั่งเศสชั่วคราว คือ มีอายุ 1 ปี เท่านั้น หรือจะเรียกว่าเป็น Carte de séjour temporaire นั่นเอง โดยจะเรียกย่อๆ ว่า CST บนบัตรจะระบุว่า Vie privée et familiale และต้องยื่นขอ Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire ล่วงหน้าประมาณ 2-3 เดือน


แถมให้อีกนิด Carte de Résident Permanent คือ บัตรพำนัก 10 ปี เรียกย่อๆ ว่า CR เทียบได้กับ resident card นั่นเอง จะขอได้เมื่อแต่งงานและอยู่ด้วยกันที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา 3 ปี

มาดูหน้าตาจดหมายแจ้งให้ไปรับ Titre de séjour กัน

ในจดหมายจะระบุว่าตามที่ได้ขอ Le titre de séjour ณ ที่ทำการ la Préfecture (กรณีนี้ มาดามอยู่เขต 67 ต้องไปขอที่ la Préfecture Strasbourg ในบางเขตสามารถยื่นขอได้ที่ Sous-Préfecture ได้ด้วย)

ระบุต่ออีกว่าเชิญให้เข้าไปรับด้วยตนเอง ได้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2015

ย่อหน้าต่อมาจะเป็นการแจ้งรายการเอกสารที่ต้องนำติดตัวไปด้วยในวันรับ carte de séjour ดังนี้
  • Récépissé de demande de carte de séjour หรือ RCS คือ ใบที่ la Préfecture ให้มาตอนไปยื่นขอ carte de séjour 
  • หนังสือเดินทาง
  • จดหมายแจ้ง หรือ convocation ฉบับนี้ ที่สาวๆ ได้รับทางไปรษณีย์
  • titre de séjour ที่หมดอายุ (ในที่นี้ใช้สำหรับผู้ที่ขอต่อ carte de séjour แต่สำหรับผู้ที่ขอ carte de séjour ครั้งแรก แบบมาดาม ก็ไม่มีค่ะ มีแค่ Stamp OFII ซึ่งก็อยู่ในหนังสือเดินทางของเราอยู่แล้ว)
  • ค่าอากรแสตมป์ (กรณีที่ไม่ได้ชำระในวันที่ยื่นขอ carte de séjour)
 ค่าอากรแสตมป์สามารถดูได้ที่ด้านหลังของจดหมายฉบับนี้ค่ะ จะมีตารางค่าอากรฯ ที่แตกต่างกันแล้วแต่กรณี ซึ่งผู้ขอ carte de séjour ต้องเตรียมอากรแสตมป์ไปให้ครบตามจำนวนที่ระบุ แต่ในหน้าจดหมาย เจ้าหน้าที่ Preéfecture ได้เขียนระบุไว้ด้วยปากกาสีแดงแล้วค่ะ (ถ้าชำระไปแล้วในวันที่ยิ่นขอ carte de séjour ก็ไม่ต้องสนใจเรื่องค่าอากรฯในส่วนนี้ค่ะ)

สำหรับกรณีสะใภ้ฝรั่งเศส จะดูตรงไหนว่าต้องชำระเท่าไหร่ ลองพลิกไปด้านหลัง และหาคำว่า Conjoint de Français จะพบว่าค่าอากรฯอยู่ที่ 160€ ค่ะ
บางคนอาจจะเกิดอาการงงเล็กน้อย ก็ตารางมันมีหลายช่อง แล้วของนู๋จะเป็นช่องไหนละ สำหรับสะใภ้ป้ายแดงที่ขอ Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire เป็นครั้งแรก เพราะวีซ่าระยะยาวหมด ให้ดูที่ช่องขวาสุด ของ Conjoint de français (แต่ช่องขวาสุดมันเขียนว่ากรณีต่อการ์ดนี่นา แล้วไอ้ช่องที่บอกว่ายื่นขอสำหรับการ์ดครั้งแรก " pour 1er titre " มันไม่ใช่เหรอ  ตอนแรกมาดามก็งงแบบนี้ละค่ะ และเดาไปเองว่าเจ้าหน้าที่งงอะไรกับชีวิตเรารึป่าว  ถึงระบุให้ชำระค่าอากรฯ 160€  เพราะถ้าขอ titre ครั้งแรกนี่ตั้ง 260€   มาดามขอไขข้อสงสัยให้สาวๆ และเคลียร์ความข้องใจของตัวเองด้วยเลย ที่เราชำระแต่ 160€ นะถูกแล้ว เพราะเรามี Visa long séjour valant titre de séjour (VLS-TS) หรือวีซ่าระยะยาวที่เทียบเท่า Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire แล้ว ที่ใช้คู่กับ OFII Vignette หรือแสตมป์ OFII นั่นแหละ)

ท้ายสุด ในจดหมายยังเน้นว่าควรมายื่นขอต่อ Titre de séjour/ Carte de séjour temporaire ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนวันหมดอายุใน Titre  ถ้ามายื่นขอหลังจากวันที่หมดอายุในบัตร จะต้องชำระค่าอากรฯ เพิ่มอีก 180€


ส่วน Note น้อยๆ เป็นเรื่องใบขับขี่ของต่างชาติค่ะ

พรุ่งนี้มาดามงดไปเรียนภาษาฝรั่งเศสที่ APP-SAverne ช่วงบ่าย เพราะจะเข้าไปในเมือง Strasbourg เพื่อไปรับ Titre de séjour ใบแรกในชีวิตค่ะ ไม่รู้คิวจะยาวและต้องรอนานหลายชั่วโมงไหม  แล้วมาดามจะมาอัพเดทให้ฟังใหม่นะค่ะ

ช่วงนี้อากาศร้อน สาวๆ อย่าลืมดื่มน้ำเยอะๆ นะค่ะ