Tuesday, January 12, 2016

มาหากิจกรรมดี ๆ ทำ กับ Association Générale des Familles

วันนี้มาดามจะมาแนะแนวทางที่น่าจะช่วยฝึกฝน เพิ่มพูนทักษะภาษาฝรั่งเศสด้านการพูด อย่างน้อยก็มีโอกาสได้ฝึกพูด ฝึกฟังชาวบ้าน บ่อย ๆ ก็พูดได้คล่องแน่นอน และดีกว่านั่งนอนอยู่บ้าน

หลังจากผิดหวังจากการสมัครเรียนต่อ โท ในมหาวิทยาลัยไปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มาดามเลยหาช่องทางอื่นแทน ในเมื่อตอนนี้ภาษาฝรั่งเศสง่อยมาก ยังไงมันก็ไปไม่ถึง C1 ง่าย ๆ ไอ้จะไปลงเรียนตามสถาบันภาษา ราคานี่ทำให้จุก เอาไปเล่าให้ครูฟัง ครูเลยแนะนำให้ลองไปติดต่อหาทำกิจกรรมดู (จริง ๆ มาดามก็ส่องไว้แล้ว สนใจเย็บผ้า) แถมครูเดินไปขอโบรชัวร์รายชื่อกิจกรรมในเมืองที่อยู่ให้อีก

ครูให้มาดามลองเขียนเมล์ไปสอบถามสมาคม Association Générale des Familles เรียกย่อ ๆ ว่า AGF  สมาคมนี้จะเป็นสมาคมที่ให้ความช่วยเหลือครอบครัว และยังจัดให้มีชมรมต่าง ๆ เพื่อให้คนในเมืองเข้าร่วมทำกิจกรรม

บระเจ้า นั่งเขียนมันสด ๆ ไม่มีตัวช่วย เขียนเสร็จ ครูก็ช่วยแก้ให้อีกที พอกลับบ้านก็ส่งเมล์ไปสอบถาม และตอนเย็นก็ชวนสามีไปถามที่สมาคมเลย มาดามถามเอง รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง 555

ตอนนี้มาดามยังไม่ได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมใด แต่ได้ส่งเมล์ไปถามข้อมูลเพิ่มเติม ถ้าสาว ๆ คนไหนสนใจอยากหาอะไรทำ แถมมีโอกาสฝึกพูดกับคนฝรั่งเศส ก็ลองไปขอรายชื่อกิจกรรมกับทาง la mairie ดูค่ะ บางเมืองมีชมรมเยอะแยะ และน่าสนใจ แถมกิจกรรมดี ๆ ไม่ได้มีแค่สำหรับผู้ใหญ่อย่างเรา เด็กน้อย คนแก่ ก็มี

 มาดามอยู่เขต 67 ก็สามารถเข้าไปดูที่เว็บของ agf67  http://www.agf67.fr/activites-a-services/adultes/loisirs-a-culture.html

บางคลับก็ต้องจ่ายเงินค่าเข้าร่วมชมรมเป็นรายปี และเสียค่าสมาชิกบัตร 20€ (ถ้าหารรายวัน หรือรายเดือนก็คุ้มอยู่)

จริง ๆ มาดามอยากเข้าชมรมนิตติ้ง Tricot แต่ที่เมืองนี้ไม่มี เลยอด เลยมาเล็งกิจกรรมเย็บ  la couture แต่ว่าต้องมีจักรเย็บผ้า และต้องหิ้วไป เสียเงินรายปี 100€  ไม่รวมค่าอุปกรณ์ เช่น ผ้า ด้าย จิปาถะ (ผ้าที่นี่แพงมาก เห็นราคาแล้วไม่อยากทำกิจกรรมนี้สักเท่าไหร่ มันไม่เหมือนบ้านเรามีผ้า 3 เมตรร้อย) เอาเป็นว่า พับโปรเจ็คนี้เก็บกลับบ้านไปเลยสำหรับมาดาม

ชมรมที่น่าสนใจสำหรับมาดาม คือ Club Féminin หรือ ชมรมสตรี  มาดามได้ส่งเมล์ไปสอบถามประธานชมรมเรื่องเงื่อนไข และรายละเอียดชมรมว่าเขาทำอะไรกัน เท่าที่ทราบก็มีการจัดไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ แล้วพูดคุยกัน  มาดามคิดว่าชมรมนี่น่าจะโอสำหรับเราที่ต้องการฝึกพูด สื่อสารกับคนอื่น แถมได้เรียนรู้วัฒนธรรมไปด้วยในตัว

ยังไงถ้ามาดามได้คำตอบและรายละเอียดเพิ่มเติม จะมาอัพเดทให้ฟังนะคะ เย็นนี้มาดามขอตัวไปหาหนังสือมาอ่าน จะไป la médiathèque ไปยืมหนังสือมาอ่านคร้า

Apprendre le français: ตำแหน่งกรรมในประโยค (มีกรรมมากกว่า 1 ตัว)

วันนี้มาดามขอมาเสริฟลูกชิ้นปิ้งให้สาว ๆ ได้มาลองชิมกันค่ะ มีทั้งไม้เล็ก ไม้ใหญ่ เลือกกันตามชอบ

ลูกชิ้นปื้งของมาดาม กินแล้วเก่ง อิอิ

มาดามทำภาพเรื่องตำแหน่งการวางกรรม ในกรณีที่มีกรรมหลายตัวในประโยค ตัวไหนวางใกล้กริยามากที่สุด โดยทำเป็นลูกชิ้นปิ้ง ส่วนปากของเรา คือ กริยา กรรม คือ ลูกชิ้น
 

ไม้นี้ เป็นลูกชิ้นธรรมดา สำหรับกริยา 1 ตัว (simples) ถ้าไม่ชอบ ก็เติม ne หลังประธาน หลังปาก (กริยา) ก็เติม pas (อารมณ์ประมาณ ไม่ชอบ มีไรปะ)
 ไม้ที่สอง เป็นลูกชิ้นผสม composés
ตำแหน่งลูกชิ้นกรรม แบบผสม composés คือ มีกริยา 2 ตัว
พิเศษ สำหรับปฏิเสธ จะแทรก pas ระหว่างกริยา ง่าย ๆ คือ เติม pas หลังกริยาช่วย



 ไม้ที่สาม เป็นลูกชิ้นตามสั่ง l'impératif
มีแบบ 4 ลูก เสียบห่างให้เห็นไม้ (ขีดคั่น) สำหรับ l'impératif คำสั่งบอกเล่า
และแบบ 5 ลูก สำหรับคำสั่งปฏิเสธ

 ต่อไปนี้เราจะไม่งง งวย กับตำแหน่งของกรรมในประโยค เวลามีกรรมหลายตัว นึกถึงลูกชิ้นปิ้งไว้ 5555

Monday, January 11, 2016

Apprendre le français: Les pronoms toniques

มาดามจะลงเรื่องสรรพนามบุคคล ในหมวด les pronoms toniques ให้ตั้งแต่เมื่อวาน แต่มีปัญหาเข้า wifi ไม่ได้ เลยไม่ได้ลงให้ตั้งแต่เมื่อวาน แต่ไม่เป็นไร วันนี้มาลงให้แล้วนะคะ

Les pronoms toniques ถ้าไปถามคนฝรั่งเศส หลายคนคงส่ายหัว ไม่รู้จัก แบบสามีของมาดามเป็นต้น ที่ไม่รู้จักนี่ คือ ไม่รู้จักชื่อที่เขาใช้เรียกกันแบบเฉพาะเจาะจงในทางไวยากรณ์ แต่รู้จักในฐานะคำสรรนาม หรือ Les pronoms นั่นเอง และวันนี้มาดามนำสรุปเรื่องการใช้ les pronoms toniques มาแชร์ และขอบอกว่าเนื้อหาบางส่วน มันเกิน le niveau A1 แน่นอนค่ะ ไหน ๆ จะทำความรู้จัก les pronoms toniques ก็เรียนรู้การใช้ให้ถ่องแท้ไปเลย


Les pronoms toniques
         เราใช้คำสรรพนามเน้นย้ำ หรือ les pronoms toniques ทุกวัน เพียงแค่เราไม่รู้ จักดีว่าคำที่เราใช้พูดอยู่ทุกวันนี้มันคืออะไร ทำหน้าที่อะไรในประโยค เพราะเราอาศัย การท่องจำ จำมาเป็นยวง จำมาเป็นแพคเกจ อันนี้ไม่ผิด แต่ถ้าเราสามารถแยกแยะ หรือวิเคราะห์หน้าที่ของคำในประโยคได้ จะทำให้เราเขียน หรือ พูด ได้หลากหลาย มากขึ้น
         บางครั้งจะเจอคำว่า les pronoms disjoints ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะ การวางสรรพนามในประโยค คือ วางห่างจากกริยา หรือ ไม่ได้วางติดกริยา (les pronoms disjoints = les pronoms toniques)
 
เราใช้ les pronoms toniques ตั้งแต่การกล่าวทักทาย ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ
         Bonjour, ça va bien? Je vais bien et toi ?สวัสดี สบายดีไหม ? ฉันสบายดี
อธิบาย : toi คือ le pronom tonique ที่ใช้กับประธานสรรพนาม Tu
หลัง et ตามด้วย le pronom tonique เราไม่สามารถใช้ le pronom personnel sujet มาวางหลัง et ได้
et tu ต้องเปลี่ยน tu เป็น toi
ยกเว้น กรณีที่ et ใช้เชื่อมประโยค
Je vais bien et tu vas bien ?
อธิบาย : et ในที่นี้ เป็นการเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน
ประโยคแรก Je vais bien.
ประโยคที่สอง tu vas bien.

         Et vous, comment allez-vous ? แล้วคุณล่ะ สบายดีไหม ?
อธิบาย : vous คือ le pronom tonique ที่ใช้กับประธานสรรพนาม Vous

         อย่าไปสับสนกับคำสรรพนามอีกประเภทที่ใช้คู่กับ le verbe pronominal ซึ่งภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า “Les pronoms réfléchis” เป็นคำสรรพนามสะท้อน การกระทำของประธานแต่ละตัว บางครั้งเรียกว่า “Les pronoms réfléchis nominaux” และที่สำคัญจะต้องเป็นคนเดียวกันกับประธาน และต้องวางหน้ากริยาเสมอ


V. s'appeler
Je m’appelle Beam. ฉันชื่อบีม
อธิบาย : m’ มาจาก me ลดรูป เมื่อชนสระ 
กริยาในประโยค คือ V. s’appeler เป็น กริยา pronominal ที่ผันตามประธาน Je จึงต้องใช้ me ที่เป็นสรรพนาม réfléchi สำหรับประธาน Je

ส่วน Moi, je m’appelle Beam. ตัวฉัน ฉันชื่อบีม 
Moi เป็น le pronom tonique ใช้เน้นประธาน je
ในประโยคนี้ มีทั้ง le pronom tonique คือ Moi และ le pronom réfléchi คือ m’
         ข้อสังเกตุ      le pronom réfléchi ต้องวางหน้ากริยา
                          แต่ le pronom tonique อาจจะอยู่เดี่ยว ๆ แบบอิสระ หรือตามหลังคำบุพบทก็ได้

 
รูปแบบการใช้ les pronoms réfléchis
         กาลปัจจุบัน le présent: ประธาน + le pronom réfléchi + กริยา pronominal
Normalement je me lève à sept heures. ปกติฉันตื่นเวลาเจ็ดโมง
อธิบาย: je คือ ประธานในประโยค
lève คือ กริยา มาจาก V. se lever ซึ่งเป็น verbe pronominal
me คือ pronom réfléchi ที่ใช้กับประธาน je

ประโยคปฎิเสธ:
ประธาน + ne + le pronom réfléchi + กริยา pronominal + pas
Normalement je ne me lève pas avant sept heures. ปกติฉันไม่ตื่นก่อนเจ็ดโมง

อดีตกาล le passé composé:
ประธาน + le pronom réfléchi + V. être + กริยา pronominal ในรูป p.p.
Ce matin, je me suis levé (e) assez tôt. เช้านี้ ฉันได้ตื่นนอนเช้าพอควร

ประโยคปฎิเสธ:
ประธาน +  ne + le pronom réfléchi + V. être +  pas + กริยา pronominal ในรูป p.p.
Ce matin, je ne me suis pas levé (e) assez tôt.
เช้านี้ ฉันไม่ได้ตื่นนอนแต่เช้า

Les pronoms toniques มี 2 หน้าที่ คือ
1) เป็นประธานของประโยค ที่เรียกว่า Les pronoms toniques sujets
1.1) เป็นประธานร่วม คือ มีประธานมากกว่าหนึ่งที่ทำกริยาตัวเดียวกัน
Mon mari et moi sommes allés en Thaïlande. สามีของฉันและตัวฉัน เราได้ไปที่ประเทศไทย
อธิบาย : Mon mari et moi ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
Mon mari เป็นคำนามเพศชาย เอกพจน์ เทียบเท่ากับ Il
et เป็นคำเชื่อม แสดงให้เห็นว่ามีประธานมากกว่าหนึ่ง
moi เป็นสรรพนามเน้นย้ำ le pronom tonique ที่ใช้แทน Je
ต้องใช้ le pronom tonique เนื่องจากตามหลัง et  อีกทั้ง Je ไม่สามารถตามหลัง et ถ้าไม่ได้เป็นการเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน (ต่างจากภาษาอังกฤษที่สามารถใช้ and I ได้)
หากต้องการใช้ Je ต้องวาง Je ไว้หน้าประโยค
Je et mon mari sommes allés en Thaïlande. ฉันและสามีของฉันได้ไปประเทศไทย

1.2)ใช้เน้นย้ำ การกระทำของประธานสรรพนามบุุุคคล 
·      ใช้เน้นตัวประธาน โดยวางหน้าประโยค และต้องมีเครื่องหมายลูกน้ำ , la virgule ตามหลัง แทนที่การใช้ C’est หรือ Ce sont
Moi, je m’appelle Beam. ตัวฉัน ฉันชื่อว่าบีม
หรือ C’est moi qui s’appelle Beam.

Elle, elle est très gentille. ตัวหล่อน หล่อนเป็นคนใจดี
หรือ C’est elle qui est très gentille.
·      การเน้นตัวประธานด้วยการใช้
C’est/ Ce sont + le pronom tonique + qui
C’est lui qui t’a offert ce bouquet manifique?
นั่นเขา คนที่มอบช่อดอกไม้แสนสวยนี้แก่เธอ ใช่ไหม?
อธิบาย :C’est lui ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เป็นเพศชาย เอกพจน์ มาจาก Il
qui เป็นสรรพนามที่เชื่อมประโยคและขยายความให้ประธานว่าเป็นคนกระทำ
t’ มาจาก te เป็นกรรมตรงของกริยา เมื่อชนสระ คือ a ที่มาจาก V. avoir ที่ผันตามประธาน คือ C’est lui ต้องลดรูป เป็น t’
กริยาของประโยค คือ a offert ซึ่งเป็นกาล le passé composé ของ V. offrir
·      สามารถใช้แทนประธานสรรพนามบุคคลที่ถูกละ
Lui, il veut réussir dans la vie; elle, veut réussir sa vie. ตัวเขา เขาต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต และตัวหล่อน ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
อธิบาย : Lui, ใช้เน้น il ที่เป็นประธานในประโยคแรก
elle, ใช้เน้น elle ที่เป็นประธานในประโยคที่ 2 แต่ในประโยคที่ 2 ทำการละ หรือไม่ใช้ประธาน elle เพื่อให้ประโยคดูไม่เยิ่นเย้อ

Mon mari travaille; moi, dors. สามีของฉันทำงาน ส่วนตัวฉัน นอน
อธิบาย : moi, ใช้เน้น Je ที่เป็นประธานในประโยคที่ 2 แต่ในประโยคที่ 2 ทำการละ หรือไม่ใช้ประธาน Je
·      ประธานสรรพนามบุคคลจะหายไป เมื่อ le pronom tonique อยู่หน้า même และ seul และจะไม่ใส่เครื่องหมาย virgule , ตามหลัง
Toi seul connais la réponse. เธอคนเดียวที่รู้คำตอบ

2) เป็นกรรมของประโยค สามารถเป็นได้ทั้งกรรมตรงและกรรมรอง  โดยจะตามหลัง คำบุพบท
Je vais en Thaïlande avec mon mari. ฉันไปประเทศไทยกับสามีของฉัน
Je vais en Thaïlande avec lui. ฉันไปประเทศไทยกับเขา = สามีของฉัน
อธิบาย : lui เป็นสรรพนามแทนคำนามเพศชาย เอกพจน์
lui = mon mari
avec เป็นบุพบท

สรุปการใช้ les pronoms toniques
·      เป็นประธานร่วม คือ มีประธานมากกว่าหนึ่งที่ทำกริยาตัวเดียวกัน มักตามหลังด้วยบุพบท et
Mon mari et moi sommes allés en Thaïlande.
·      ใช้เน้นตัวประธาน โดยวางหน้าประโยค และต้องมีเครื่องหมายลูกน้ำ , la virgule ตามหลัง แทนที่การใช้ C’est หรือ Ce sont
Moi, je m’appelle Beam. ตัวฉัน ฉันชื่อว่าบีม
หรือ C’est moi qui s’appelle Beam.
·      ตามหลัง C’est
ใช้ในการแนะนำตัว
Est-ce que c’est ton mari? นั่นใช่สามีเธอหรือเปล่า?
Oui, c’est lui. ใช่แล้ว นั่นสามีฉัน
อธิบาย : lui คือ le pronom tonique ใช้แทนคำนาม ton mari ที่เป็นคำนามเอกพจน์ เพศชาย = il
หลัง C’est ต้องตามด้วย le pronom tonique

เน้นตัวประธาน
C’est/ Ce sont + le pronom tonique + qui
C’est lui qui t’a offert ce bouquet manifique?  
นั่นเขาคนที่มอบช่อดอกไม้แสนสวยให้เธอใช่ไหม?
อธิบาย : lui คือ le pronom tonique แทน il
หลัง C’est ต้องตามด้วย le pronom tonique
·      ใช้ในสำนวน “เป็นของ”  V.être à
A qui est ce sac? ถุงใบนี้ของใคร
Il est à moi. มันเป็นของฉัน
อธิบาย : Il แทนคำนามเอกพจน์ เพศชาย คือ ce sac
est คือ กริยา มาจาก V. être ที่ผันตามประธาน Il ในกาลปัจจุบัน
หลัง V. être à ต้องใช้ le pronom tonique
moi คือ le pronom tonique ของ Je
·      ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหรือเน้นให้เห็น
Moi, je suis thaïlandaise mais lui, il est français et elles, elles sont chinoises. ตัวฉัน ฉันเป็นคนไทย แต่ตัวเขา เขาเป็นคนฝรั่งเศส ส่วนพวกเขาทั้งหลายเป็นคนจีน
อธิบาย : ในตัวอย่างนี้ มีด้วยกัน 3 ประโยค
ประโยคแรก ประธาน คือ je และใช้ moi ที่เป็น le pronom tonique ของ Je
ใช้ moi ตามด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ , => moi, เพื่อเน้นและเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง
ประโยคที่สอง เชื่อมด้วย mais
ประธาน คือ il และใช้ lui ที่เป็น le pronom tonique ของ Il
ใช้เน้นให้เห็นความต่าง จึงต้องตามด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ , => lui,
ประโยคที่สาม เชื่อมด้วย et
ประธาน คือ elles และใช้ elles ที่เป็น le pronom tonique ของ Elles
ใช้เน้นให้เห็นความต่าง จึงต้องตามด้วยเครื่องหมายลูกน้ำ , => elles,
·      ใช้ตอบคำถามว่าใครทำอะไร เป็นการตอบแบบสั้น ๆ
Qui écrit cette lettre? ใครเขียนจดหมายฉบับนี้
Moi. ฉันเอง
ตอบเต็ม คือ Moi, j’écris cette lettre. ตัวฉันที่เขียนจดหมายฉบับนี้เอง
·      ใช้คู่กับ aussi, non plus หรือ pas โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายลูกน้ำตาม , Moi aussi! ฉันด้วย
Moi non plus! ฉันก็ไม่ล่ะ
Pas moi! ไม่ใช่ฉัน
·      ใช้แทนประธานสรรพนามบุคคลที่ถูกละ
Lui, il veut réussir dans la vie; elle, veut réussir sa vie. ตัวเขา เขาต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต และตัวหล่อน ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
อธิบาย : ประโยคแรก ประธาน คือ il และใช้ lui, ที่เป็น le pronom tonique ของ Il เพื่อเน้นว่าประธานเองเป็นผู้กระทำ
ประโยคที่สอง เชื่อมด้วยเครื่องหมาย ; un point virgule ซึ่งเทียบเท่ากับการใช้ et
elle, ในที่นี้ ไม่ได้เป็น le pronom personnel sujet แต่เป็น le pronom tonique ของประธาน Elle ที่ถูกละ (ไม่เขียน)
สังเกตุได้จาก หลัง elle มีเครื่องหมายลูกน้ำ , ติดอยู่
ถ้าเป็น le pronom personel sujet จะไม่มีลูกน้ำมาคั่น สามารถเขียนและวางหน้ากริยาได้เลย

ประโยคเต็ม คือ
Lui, il veut réussir dans la vie et elle, elle veut réussir sa vie.
สาเหตุที่ ละประธานสรรพนาม Elle คือ ไม่ต้องการเขียนประโยคยาว และมีคำว่า elle ซ้ำติดกัน มันดูไม่สวย
·      ประธานสรรพนามบุคคลจะหายไป เมื่อ le pronom tonique อยู่หน้า même  seul และ aussi โดยจะไม่ต้องใส่เครื่องหมายลูกน้ำ un virgule , ตามหลัง
Toi seul connais la réponse. เธอคนเดียวที่รู้คำตอบ
อธิบาย : ในประโยคนี้ ละประธานสรรพนามบุคคล คือ ละ Tu
ประโยคเต็ม คือ Toi, tu seul connais la réponse.
หน้า seul จะใช้ le pronom tonique
ตัด Tu ออก เหลือแค่ toi

Lui seul a travaillé hier. เขาทำงานคนเดียวเมื่อวานนี้
อธิบาย : ละประธานสรรพนามบุคคล คือ ละ Il
ประโยคเต็ม คือ Lui, il a travaillé hier.
หน้า seul จะใช้ le pronom tonique
ตัด Il ออก เหลือแค่ Lui

Eux aussi veulent venir. เขาทั้งหลายต้องการที่จะมาด้วย
อธิบาย : ละประธานสรรพนามบุคคล คือ ละ Ils
ประโยคเต็ม คือ Eux, ils aussi veulent venir.
หน้า aussi จะใช้ le pronom tonique
ตัด Ils ออก เหลือแค่ Eux
·      ใช้เน้นกรรมของกริยาในประโยค
Toi, Jean t’a épargné. ตัวเธอ ชองได้ช่วยเธอไว้
อธิบาย : ประธานของประโยค คือ Jean สังเกตุจากกริยา คือ a (V.avoir) ที่ผันกับประธานเอกพจน์ เพศชาย = Il
แต่ในประโยคนี้ต้องการเน้นว่าใครที่ประธานช่วยไว้ จึงต้องใช้ le pronom tonique
Toi, เน้นกรรมของกริยา คือ t’ ที่ลดรูปจาก te
t’ คือ กรรมตรงของกริยา épargner
V. épargner quelqu’un ช่วยใคร
·      ตามหลังคำบุพบทเสมอ เช่น
avec กับ: Tu vas au cinéma avec lui. เธอไปโรงหนังกับเขา

chez ที่บ้าน: Mes voisins m'ont invité chez eux. เพื่อนบ้านของฉันได้เชิญฉันไปที่บ้านของเขา
อธิบาย : ใช้ eux เพราะ mes voisins เป็นคำนามพหูพจน์ เพศชาย = Ils
หลัง chez ต้องใช้ le pronom tonique
eux คือ le pronom tonique ของ Ils
*chez เป็นคำบุพบทใช้แสดงให้เห็นว่าที่บ้าน อพาร์ทเม้นท์ หรือสถานที่ มักตามด้วย le pronom tonique หรือชื่อคน

sans ปราศจาก: Je ne peux pas vivre sans toi. ฉันไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากเธอ

à coté de ข้าง ๆ : Il est assis à coté de toi. เขานั่งข้าง ๆ เธอ

en face de ตรงหน้า : Il est assis en face de toi. เขานั่งตรงหน้าเธอ

pour สำหรับ แก่: J’achète ce livre pour toi. ฉันซื้อหนังสือเล่มนี้แก่เธอ

devant ข้างหน้า
derrière ข้างหลัง
autour รอบ ๆ
contre ต่อต้าน
·      ตามหลังคำเชื่อม les conjonctions  เช่น
et และ
ou หรือ
·      ใช้ในการเปรียบเทียบ โดยจะวางหลัง que และ comme
Tu es plus grande que moi. เธอตัวสูงใหญ่กว่าฉัน
·      ใช้กับประโยคคำสั่ง l’impératif โดยวาง le pronom tonique หลังกริยา และ un trait d’union ขีดคั่นกลาง
Passe-moi le sel s’il te plaît. ช่วยส่งเกลือมาให้หน่อยค่ะ
อธิบาย : moi คือ le pronom tonique แปลงร่างจาก me  ที่เป็นกรรม
ประโยคบอกเล่า คือ Tu me passes le sel s’il te plaît.
พอทำเป็น l’impératif คือ ย้ายกริยามาวางขึ้นต้นประโยค ตัด s ทิ้งสำหรับประธาน Tu และตัดประธาน Tu ออกด้วย
เปลี่ยน me เป็น le pronom tonique คือ moi และเติมเครื่องหมายขีด คั่นกลางระหว่างกริยา และสรรพนาม

Excusez-moi! ขอโทษค่ะ
อธิบาย : moi คือ le pronom tonique

หลังกริยาในโหมด l’impératif คือ les pronoms compléments เป็นได้ทั้งกรรมตรง COD (le, la, les, en) และกรรมรอง COI (moi, toi, lui, nous, vous, leur, y)
สังเกตุได้ว่า เราจะใช้ le pronom tonique มาแทนเฉพาะ me, te คือ moi, toi ส่วนที่เหลือยังคงใช้ les pronoms COI เช่นเดิม ถ้าประโยคคำสั่งในรูปปฏิเสธ จะต้องเปลี่ยน moi, toi มาเป็น me, te ถ้าชนสระ ต้องลดรูปเป็น m’ , té
Tu me laisses seule. เธอปล่อยฉันอยู่คนเดียว
เป็นประโยคบอกเล่า ประธาน คือ Tu โดยมีกรรมคือ me
Laisse-moi seule! ปล่อยฉันอยู่คนเดียว
เป็นประโยคคำสั่ง l’impératif
ย้ายกริยา laisses ในประโยคบอกเล่า และตัด s ทิ้ง เป็น Laisse
เปลี่ยน me เป็น moi ที่เป็น le pronom tonique และเติมเครื่องหมายขีดคั่นระหว่างกริยาและ moi
Ne me laisse pas seule! อย่าปล่อยฉันอยู่คนเดียว
เป็นประโยคคำสั่ง ในรูปปฏิเสธ
วาง Ne หน้าประโยค และตามด้วยกรรม คือ me
จะเปลี่ยน moi จากประโยคคำสั่งบอกเล่า มาเป็น me แทน
หลังกริยา เติม pas

Tu m’aides à couper les légumes. เธอช่วยฉันหั่นผัก
เป็นประโยคบอกเล่า ประธาน คือ Tu โดยมีกรรมคือ me
me เมื่อชนสระ ต้องลดรูปเป็น m’
กริยา คือ aides มาจาก V. aider ผันตามประธาน Tu
หลัง à คือ V. couper เป็นกริยาไม่ผัน V. infinitif
Aide-moi à couper les légumes
เป็นประโยคคำสั่ง l’impératif
ย้ายกริยา aides ในประโยคบอกเล่า และตัด s ทิ้ง เป็น Aide
เปลี่ยน me เป็น moi ที่เป็น le pronom tonique และเติมเครื่องหมายขีดคั่นระหว่างกริยาและ moi
Ne m’aide pas à couper les légumes.
เป็นประโยคคำสั่ง ในรูปปฏิเสธ
วาง Ne หน้าประโยค และตามด้วยกรรม คือ me
จะเปลี่ยน moi จากประโยคคำสั่งบอกเล่า มาเป็น me แทน
me เมื่อชนสระ ต้องลดรูปเป็น m’
หลังกริยา เติม pas

กรณีที่มีทั้งกรรมตรงและกรรมรองในประโยคคำสั่ง ต้องวางกรรมตรง COD หน้ากรรมรอง
คำสั่งบอกเล่า จะต้องมีขีดคั่น วางหน้า COD และ COI 
ส่วนคำสั่งปฏิเสธ ไม่ต้องมีขีดคั่น

 
ทิป กรรมตรง COD จะวางติดกริยา
    ถ้ามีกรรมรอง lui และ leur จะวางติดกริยา

V. rendre quelque chose à quelqu’un คืนอะไรให้ใคร
Tu rends mon livre à moi. เธอคืนหนังสือของฉันให้ฉัน
Tu me le rends.
ประโยคบอกเล่า ประธานคือ Tu
me คือ กรรมรอง COI มาจาก à moi
le คือ กรรมตรง COD มาจากmon livre คำนามเอกพจน์ เพศชาย
กริยา คือ rends มาจาก V. rendre ผันกับประธาน Tu
Rends-le-moi คืนมันให้ฉัน
ประโยคคำสั่ง ย้ายกริยา rends มาวางหน้าประโยค
rends คง s ไว้สำหรับประธาน Tu (จะตัด s สำหรับกริยาที่ลงท้าย -er )
เมื่อมีกรรม 2 ตัว ตำแหน่ง คือ กรรมตรงวางติดกริยา และตามด้วยกรรมรอง
แต่ต้องมีขีดคั่นกลางเสมอ
Ne me le rends pas. ไม่ต้องคืนมันให้ฉัน
ประโยคคำสั่งปฏิเสธ เติม Ne หน้าประโยค
เมื่อมีกรรม 2 ตัว กรรมรองติด Ne ส่วนกรรมตรงติดกริยา และไม่ต้องมีขีดคั่น

Tu nous le rends. เธอคืนมันให้เรา
Rends-le-nous. คืนมันให้เรา
Ne nous le rends pas. ไม่ต้องคืนมันให้เรา

Tu le leur rends. เธอคืนมันให้พวกเขา
Rends-le-leur. คืนมันให้พวกเขา
Ne le leur rends pas. ไม่ต้องคืนมันให้พวกเขา

·      ใช้กับกริยาที่ตามด้วย à + คน (quelqu’un) เช่น
V. tenir à quelqu’un  แคร์ ใส่ใจใคร: Il tient beaucoup à elle.
Je tiens à mes parents = Je tiens à eux.
V. penser à quelqu’un คิดถึงใคร: Je pense souvent à lui.
Je pense à mon grand-père = Je pense à lui.
V. faire attention à ระมัดระวังใคร:
Je fais attention à cette femme = Je fais attention à elle.
V. renoncer à ล้มเลิก ยกเลิก:
Je renonce à mes filles = Je renonce à elles.
V. être opposé à quelqu’un ต่อต้านใคร
V. soigner à quelqu’un ดูแลใคร
V. être attaché (e) à quelqu’un ติดใคร
V. songer à quelqu’un คิดถึง นึกถึง

เน้นว่า ใช้กับกริยาที่ตามด้วย à + คน ไม่ใช่สิ่งของ
ถ้ากริยาตามด้วย à + สิ่งของ สถานที่่ จะใช้ y แทน
Pense à acheter du pain! จงคิดที่จะซื้อขนมปัง
Oui, j’y penserai. ใช่ ฉันจะคิดที่จะซื้อมัน
อธิบาย : y เป็นสรรพนาม ใช้แทนคำว่า à acheter du pain ซึ่งไม่ใช่สิ่งมีชิวิต

Tu penses beaucoup à ta fiancée? เธอคิดถึงคู่หมั้นของเธอมากใช่ไหม?
Oui, je pense beaucoup à elle. ใช่ ฉันคิดถึงหล่อนมาก
อธิบาย : V. penser à quelqu’un คิดถึงใคร
หลัง à ใช้ le pronom tonique => à elle ซึ่งแทนที่คำว่า ta fiancée คำนามเพศหญิง เอกพจน์ บุคคลที่ 3 และมีชีวิต
elle = COI กรรมรองของกริยา penser à

ยกเว้นกริยาที่มีรูปแบบ กริยา + สิ่งของ+ à + คน  ที่ต้องใช้ les pronoms conjoints หรือ กรรมรอง COI ที่ย้ายมาวางหน้ากริยา เช่น
V. acheter quelque chose à quelqu’un ซื้ออะไรให้ใคร
V. chanter quelque chose à quelqu’un ร้องอะไรให้แก่ใคร
V. demander quelque chose à quelqu’un ขออะไรจากใคร
V. dire quelque chose à quelqu’un พูดอะไรกับใคร
V. donner quelque chose à quelqu’un ให้อะไรกับใคร
V. envoyer quelque chose à quelqu’un ส่งอะไรให้ใคร
V. écrire quelque chose à quelqu’un เขียนอะไรถึงใคร
V. expliquer quelque chose à quelqu’un อธิบายอะไรแก่ใคร
V. faire quelque chose à quelqu’un ทำอะไรให้ใคร
V faire confiance à quelqu’un เชื่อมั่นในตัวใคร
V. lire quelque chose à quelqu’un อ่านอะไรให้ใครฟัง
V. montrer quelque chose à quelqu’un ชี้อะไรให้ใคร
V. obéir à quelqu’un เชื่อฟังใคร
V. prendre quelque chose à quelqu’un เอาอะไรให้ใคร
V. racontrer quelque chose à quelqu’un เล่าอะไรให้ใคร
V. répondre à quelqu’un ตอบใคร

J’envoie une lettre à mon amie. ฉันส่งจดหมายให้เพื่อนสาวของฉัน
J’envoie une lettre à elle.
อธิบาย : à elle คือ le pronom tonique ใช้แทน à mon amie คำนามเพศหญิง เอกพจน์ บุคคลที่ 3 และเป็นกรรมรองของกริยา V. envoyer
กรรมรองที่วางท้ายประโยค หรือวางหลังคำบุพบท à จะต้องใช้ le pronom tnique
envoie คือ กริยาที่ผันกับประธาน Je
Je lui envoie une lettre
กรณีที่ย้ายกรรมตรงมาวางหน้ากริยา จะใช้คำสรรพนามกรรมรอง
lui คือ กรรมรอง COI แทนคำว่า mon amie
Je la lui envoie.
เป็นประโยคที่มีกรรมตรงและกรรมรอง โดยนำกรรมตรงและกรรมรองมาวางหน้ากริยา
la แทนคำนามเพศหญิง เอกพจน์ คือ une lettre เป็นกรรมตรง COD
lui คือ กรรมรอง COI แทนคำว่า mon amie

Elle répond à ses parents. หล่อนตอบพ่อแม่ของหล่อน
Elle répond à eux.
อธิบาย : eux เป็น le pronom tonique แทน à ses parents คำนามพหูพจน์ บุคคลที่ 3 เพศถ้าไม่ทราบให้เดาเป็นเพศชายก่อนเสมอ แต่คำว่า parents คือ ผู้ปกครอง หรือ พ่อแม่ ในเมื่อมีพ่อ เป็นเพศชาย คำว่า parents จึงเท่ากับ Ils
กริยา คือ répond มาจาก V; répondre ผันตามประธาน Elle
Elle leur répond.
leur คือ กรรมรอง répond à eux => leur répond
เมื่อย้ายกรรมรองมาวางหน้ากริยา ต้องใช้สรรพนามกรรมรอง
สรรพนามกรรมรองของ eux คือ leur

Elle répond à cette lettre. = Elle y répond. หล่อนตอบจดหมายฉบับนี้
อธิบาย : y เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนามที่ไม่มีชีวิต และที่ตามหลัง à
y = à cette lettre

Tu as répondu à ton professeur? เธอได้ตอบอาจารย์ของเธอหรือยัง
Tu as répondu à lui?
อธิบาย : lui คือ le pronom tonique ที่วางหลัง à
à lui = à ton professeur
กริยา คือ as répondu มาจาก V. répondre ที่ผันกับประธาน Tu ในกาล le passé composé
Oui, je lui ai répondu. ใช่ ฉันได้ตอบเขาไปแล้ว
lui ที่วางหน้ากริยา คือ สรรพนามกรรมรอง

·      ใช้กับ les verbes pronominaux
se (le pronom réfléchi)+ verbe + à + quelqu’un
V. s’habituer à : เคยชิน
Je m’habitue à mon amie. = Je m’habitue à elle.
V. s’intéresser à : สนใจ
Je m’intéresse à Jean Paul Sartre = Je m’intéresse à lui.
V. s’addresser à : ไปถามหา สอบถาม
Je m'adresse à mes étudiantes = Je m'adresse à elles.
V. s’opposer à : ต่อต้าน
Je m'oppose à mes parents. = Je m'oppose à eux
V. s’associer à เข้าร่วมด้วย
V. se joindre à ร่วมกับ
V. s’attacher à ติดกับ
·      ใช้กับกริยาที่ตามด้วย de + คน (quelqu’un) เช่น
V. parler de quelqu’un พูดถึงใคร
V. entendre parler de quelqu’un ได้ยินว่าพูดถึงใคร
V. être amoreux de quelqu’un ตกหลุมรักใคร
V. être fier (fière) de quelqu’un ภูมิใจในใคร
V. être responsable de quelqu’un รับผิดชอบใคร
V. avoir besoin de quelqu’un ต้องการใคร
V. avoir envie de quelqu’un ปรารถนาใคร
V. avoir peur de quelqu’un กลัวใคร
V. se souvenir de quelqu’un จดจำใครได้
V. se rappeler de quelqu’un จำใครได้

J’ai beaucoup entendu parler de cette comédienne. ฉันได้ยินคนพูดถึงนักแสดงสาวคนนี้เยอะมาก
= J’ai beaucoup entendu parler d’elle.
อธิบาย : หลัง de ใช้ le pronom tonique
elle คือ le pronom tonique แทนที่คำนามเพศหญิง เอกพจน์ บุคคลที่ 3 คือ cette comédienne
de ต้องลดรูปเป็น d’ เมื่อชนสระ => d’elle
กริยา คือ ai entendu parler de มาจาก V. entendre parler de ผันกับประธาน Je ในกาล passé composé

Elle est fière de Jean. หล่อนภูมิใจในชอง
= Elle est fière de lui.
อธิบาย : de lui ใช่แทน de Jean
lui คือ le pronom tonique แทน Jean = Il

เน้นว่า ใช้กับกริยาที่ตามด้วย de + คน ไม่ใช่สิ่งของ
ถ้ากริยาตามด้วย de + สิ่งของ จะใช้ en แทน
J’ai beaucoup entendu parler de ce livre. ฉันได้ยินคนพูดถคงหนังสือเล่มนี้เยอะมาก
= J’en ai beaucoup entendu parler.
อธิบาย : en แทน de ce livre หนังสือ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต จึงต้องใช้ en

Il est fier de sa nouvelle voiture. เขาภูมิใจในรถคันใหม่ของเขา
= Il en est fier.
อธิบาย : en แทน de sa nouvelle voiture รถเป็นสิ่งไม่มีชีวิต
คำนามที่ตามหลัง de จะเปลี่ยนเป็น en และย้ายมาวางหน้ากริยา

ปกติกริยาที่ตามด้วย de คำที่ตามหลัง de จะเป็นกรรมรอง COI และถ้าต้องการแทนคำนั้นด้วยสรรพนาม ต้องใช้ les pronoms toniques
V. s’occuper de ยุ่งกับ
Je m'occupe de mon frère. = Je m'occupe de lui.
V. se souvenir de ระลึกถึง
Je me souviens de ma tante. = Je me souviens d'elle.
V. parler de พูดถึง
Je parle de Marie. = Je parle d'elle.
V. se moquer de หยอกล้อ แหย่เล่น
Je me moque de ma soeur = Je me moque d'elle.
V. avoir peur de กลัวใคร
J'ai peur de mon père = J'ai peur de lui.
V. rêver de ฝันถึงใคร
Je rêve de Marion Cotillard = Je rêve d'elle.
V. avoir besoin de ต้องการใคร
J'ai besoin de mes parents = J'ai besoin d'eux.

V. parler de quelque chose à quelqu’un พูดถึงเรื่องอะไรกับใคร

·      วางหลัง ne que หรือหลัง ni
Je ne connais que lui ici. ที่นี่ ฉันรู้จักเขาแค่คนเดียว
อธิบาย : ประโยคปฏิเสธ แต่ไม่มี pas หลังกริยา connais (มาจาก V. connaitre ผันกับประธาน Je) เนื่องจาก

Ni toi ni moi ne le comprenons. ไม่ทั้งเธอและฉันที่เข้าใจมัน
อธิบาย : ni เท่ากับ et แต่หากเป็นประโยคปฏิเสธ เราจะใช้ ni แทน et
ni ... ni ne เทียบเท่ากับ neither nor ในภาษาอังกฤษ
กริยา comprenons มาจาก V. comprendre ที่ผันกับประธาน Nous ในกาล le présent
Ni toi ni moi = Nous
·      วางหน้ากริยาไม่ผัน l’infinitif
Moi, faire du sport? Jamais!
·      วางหน้า -même (s) เพื่อเน้นย้ำว่ากระทำด้วยตัวเอง (เทียบเท่ากับ one’s self ในภาษาอังกฤษ หน้า même ต้องมี un trait d’union หรือ ขีดคั่นกลางเสมอ และ même จะเติม s เมื่อสรรพนามที่มันตามหลัง เป็นพหูพจน์
Les enfants ont fait eux-mêmes ce gâteau.
·      ใช้ soi กับประธานเอกพจน์ บุคคลที่ 3 ที่เป็น indéfinis/ indéterminé เช่น On, Chacun, Tout le monde, Nul, Personne, Quiconque, Tel ที่หมายถึง ทุกคน แต่ละคน ซึ่งเป็นสรรพนามไม่เฉพาะเจาะจง และเป็นการ กล่าวแบบทั่วไป
On va chez soi. ทุกคนกลับบ้านของตน
Il faut confiance en soi. คนเราต้องเชื่อมั่นในตัวเอง
Tout le monde doit le faire soi-même. ทุกคนต้องด้วยตัวเอง

Quand on est amoureux, on n’est plus vraiment soi-même. เมื่อคนเรามีความรัก มักจะไม่เป็นตัวของตัวเอง

ในทางกลับกัน ถ้าเป็นประธานที่ระบุเจาะจง จะใช้ lui, elle, eux และ elles แทน
Depuis qu’il est amoureux, André n’est plus vraiment lui-même. ตั้งแต่เขามีความรัก อองเดรไม่เป็นตัวของเขาเองอีกต่อไป
อธิบาย : ใช้ lui-même เนื่องจากมีการระบุชื่อคนอย่างชัดเจนในประโยค ทำให้ทราบว่าใคร
แต่ถ้าไม่เอ่ยชื่อคน และไม่ได้ใช้ประธาน il แต่ใช้ on จะต้องใช้ soi-même แทน

soi ยังใช้ในบางวลี หรือ สำนวน
en soi ในตัวของมันเอง
aller de soi เห็นได้ชัด
soi-disant เทียบเท่ากับคำว่า so-called ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ที่เขาเรียกกัน ดังกล่าว

จบแค่นี้นะคะ สำหรับ les pronoms toniques แล้วค่อยมาต่อกับเรื่องกรรมตรงและกรรมรองต่อไป