มาดามพยายามรวบรวมและทำสรุปเรื่อง les pronoms relatifs มาแชร์ เผื่อมีสาวๆ ที่มีอาการเดียวกับมาดาม จะได้เข้าใจการใช้ les pronoms relatifs มากขึ้นค่ะ
Les pronoms relatifs คือ
สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน เพื่อไม่ต้องกล่าว หรือเขียนคำนามนั้นซ้ำ
ไปซ้ำมา (สังเกตุคำว่า relatifs ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์กัน พูดง่ายๆ คือ
คำที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หรือเชื่อมโยงกันได้นั่นเอง) สามารถแบ่ง les pronoms
relatifs ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.
Les pronoms relatifs inviriables (inviraibles คือ ไม่สามารถเปลี่ยนผัน ไม่เปลี่ยนรูป) อาจเรียกอีกอย่างว่า
les pronoms simple มี qui, que, dont และ où
qui
|
sujet
ประธาน
|
ใช้เมื่อมีประธาน
หรือ sujet เป็นคนเดียวกันหรือสิ่งเดียวกัน โดยจะวาง qui
ติดหน้าคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน และต้องผันกริยาตามประธาน (คำนาม) ที่ใช้
qui เชื่อม
n + qui + v. (ต้องมีคำนามอยู่หน้า qui และ qui
จะต้องตามด้วยกริยาเสมอ)
qui ถ้าตามด้วยกริยาที่ขึ้นต้นด้วยสระ
หรือ voyelle ไม่ต้องลดรูป
qui
|
-C’est une femme. Elle apprend le français avec moi. => C’est une femme qui apprend le français avec moi.
นี่ไงผู้หญิงที่เรียนภาษาฝรั่งเศสกับฉัน
อธิบาย:
คำนามซ้ำกันคือ une femme และ Elle จึงใช้ qui แทน Elle
-J’aime ce livre. Ce livre
est bien écrit. => J’aime ce livre, qui est bien
écrit.
ฉันชอบหนังสือเล่มนี้ซึ่งเขียนได้ดีมาก
อธิบาย:
คำนามซ้ำกันคือ ce livre
-J’ai un chien qui aime se
baigner. (J’ai un chien. Un chien aime se baigner).
ฉันมีสุนัข
1 ตัวซึ่งมันชอบอาบน้ำ
อธิบาย:
คำนามซ้ำกันคือ un chien
|
que
|
C.O.D.
กรรมตรง
|
ใช้แทนคำนามที่มีซ้ำกันทั้ง
2 ประโยค โดยในประโยคที่ 2 คำนามนั้นทำหน้าที่เป็นกรรมตรง หรือ C.O.D.
(Coplément d’objet direct) เราจึงใช้ que แทน
s1 + v+ n + que + s2 + v
ในประโยคที่ใช้
que มาเชื่อมจะมีประธานคนละตัว (ไม่เหมือน qui ที่มีประธานเดียวกัน) ดังนั้น
กริยาที่ตามมาจะไม่ผันตามคำนามที่อยู่ หน้า que แต่จะผันตามประธานตัวที่ 2
ที่อยู่หลัง que
ถ้าอยู่ในกาล
composée ตัวกริยาที่เป็น p.p. (participe passé) จะต้องผันตามเพศและพจน์ของคำนามที่
que ตามหลังด้วย
que ถ้าตามด้วยด้วยสระ
หรือ voyelle ต้องลดรูปเป็น
qu’
|
-C’est une femme. J’ai rencontré cette
femme à l’APP. => C’est une femme que j’ai
rencontrée
à l’APP.
นี่ไงผู้หญิงที่ฉันเจอที่
APP
อธิบาย: une
femme และ cette femme คือ คำนามที่ซ้ำกัน
que ใช้แทน
cette femme ซึ่งเป็นกรรมตรง หรือ C.O.D. ในประโยคที่ 2
เมื่อกรรมตรงวางอยู่ข้างหน้าในประโยคกาล
composée ต้องทำ accord ตามเพศและพจน์ cette femme เป็น คำนามเพศหญิง เอกพจน์
หรือ nom féminin singilier ดังนั้นต้องผันกริยา rencontré ให้สอดคล้องกับ cette
femme คือ เติม e เข้าไป
-Ce sont les histoires. Elle les
aime le plus. => Ce sont les histoires qu’elle aime le plus.
นี่คือเรื่องที่เธอชอบมากที่สุด
อธิบาย:
คำนามที่ซ้ำกัน คือ les histoires และ les (les คือ กรรมตรง)
que ใช้แทน
les ที่เป็นกรรมตรง และทำการลดรูป เพราะอยู่หน้า elle
|
dont
|
C.O.I.
กรรมรองที่ใช้กับ de
|
แทนคำนามที่ซ้ำกัน
โดยคำนามในประโยคหลังที่เป็นกรรมรอง หรือ Complément d’objet indirect จะตามด้วย
de
s + v+ n + dont + s + v
de + n แสดงความเป็นเจ้าของ
ถ้าในประโยคหลังมี
adjectifs possessifs (ma, mes, son, ses...) ต้องเปลี่ยนเป็น articles définis
(le, la, les)
Dont เป็นคำเชื่อมประโยค
2 ประโยคเข้าด้วยกัน เทียบเท่าคำว่า whose ในภาษาอังกฤษ อย่าจำสับสนกับคำว่า
donc ที่แปลว่า ดังนั้น
ใช้กับกริยาที่มี
de เช่น
V. avoir
besoin de ต้องการ, V. avoir envie de ปรารถนา,
V. avoir peur de กลัว, V. parler de พูดถึง, V. se souvenir de จำได้,
V. se servir de ใช้สำหรับ, V. s’occuper de ดูแล, V. être fier de ภูมิใจ, V.
rêver de ฝันถึง, V. penser de คิดเกี่ยวกับ
|
-C’est un garçon. Le père de ce garçon est
comédien. => C’est un garçon dont le père est
comédien.
นั่นไงเด็กผู้ชาย
ที่พ่อของเขาเป็นนักแสดง
อธิบาย:
คำนามซ้ำกัน คือ un garçon และ ce garçon
dont ใช้แทน
de ce garçon
-C’est une maison. Sa
chambre est grande et belle. => C’est une maison dont la chambre
est grande et belle.
นั่นไงบ้านหลังที่มีห้องนอนกว้าง
และสวย
อธิบาย:
คำช้ำกัน คือ une maison และ sa (de la maison)
dont ใช้แทน
sa ซึ่งเป็น adj. possessif ต้องเปลี่ยน sa เป็น la แทน
-C’est une amie. Je parle souvent d’elle
à mes parents. => C’est une amie dont je parle
souvent à mes parents.
นั่นไงเพื่อนคนที่ฉันพูดถึงให้พ่อแม่ของฉันฟังบ่อยๆ
|
où
|
lieu
สถานที่
temps
เวลา
|
ใช้แทนสถานที่
ที่กล่าวซ้ำอีกในประโยคหลัง
บางครั้งใช้
d’où (de+où) หรือ par où
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกริยาที่ใช้กับคำนามที่บ่งบอกสถานที่ เช่น venir de+lieu (มาจาก)
จะใช้ d’où เชื่อมประโยค แต่ถ้าเป็น passer par+lieu (ผ่านทาง) จะใช้ par où แทน
คำว่า où ที่ซึ่ง หรือ where ต้องมี accent grave เสมอ
ถ้าไม่มีจะกลายเป็น ou ที่แปลว่า หรือ (or ในภาษาอังกฤษ)
ใช้แทนเวลา
|
-C’est l’école. J’apprends le français dans cette école. => C’est l’école
où
j’apprends le français.
นี่ไงโรงเรียนที่ฉันเรียนภาษาฝรั่งเศส
อธิบาย:
สถานที่ คือ l’école และ cette école
où แทน
cette école
-Vous avez déjà
visité la petite ville. Je viens de cette petite ville. => Vous avez déjà visité la petite ville d’où je viens.
คุณเคยไปเที่ยวเมืองเล็กๆที่ฉันอยู่
(มาจาก)
อธิบาย:
สถานที่ คือ la petite ville และ cette petite ville
d’où แทน de cette petite ville
-1975, c’est l’année où je suis née. => 1975, c’est l’année. Je suis née en 1975.
ปี 1975
นี่คือที่ปีที่ฉันเกิด
อธิบาย où
ใช่เชื่อมประโยคโดยแทนปี 1975
|
กริยาที่ใช้
de (v+de+qq’un/qq’ch)
s’accompagner
de
|
ไปเป็นเพื่อน
|
accoucher
de
|
ให้กำเนิด
give birth
|
approcher
de
|
ใกล้กับ
ใกล้มาถึง
approach
|
avoir
besoin de
|
ต้องการ
|
avoir envie
de
|
ปรารถนา
|
avoir honte
de
|
ละอายใจ
|
avoir l’air
de
|
มีท่าทาง
|
avoir le
temps de
|
มีเวลา
|
avoir peur
de
|
กลัว
|
être
certain de
|
มั่นใจ
|
changer de
|
เปลี่ยนจาก
|
être chargé
de
avoir la
charge de
avoir la
capacité de
avoir la responsabilité de
|
รับผิดชอบ
responsible
for
|
être rempli
de
|
เต็มไปด้วย
|
être déçu
de
|
ผิดหวัง
|
se
déprendre de
|
กำจัด
|
être
différent de
|
ต่างจาก
differ from
|
douter de
|
สงสัย
|
être
entouré de
s’entourer
de
|
ห้อมล้อมไปด้วย
|
se moquer
de
|
หยอกล้อ
make fun of
|
s’occuper
de
|
ยุ่ง
วุ่นวายกับ
|
rire de
|
หัวเราะ
|
être
satisfait de
|
พอใจกับ
|
se souvenir
de
|
จำได้
remember
|
être sûr de
|
มั่นใจ
|
2.
Les pronoms relatifs variables (variables คือ เปลี่ยนรูปได้) หรือ les pronoms relatifs
composées จะต้องผันตามเพศและพจน์ของคำนามเสมอ
|
Singular เอกพจน์
|
Pluriel พหูพจน์
|
||
Masculin เพศชาย
|
Féminin เพศหญิง
|
Masculin เพศชาย
|
Féminin เพศหญิง
|
|
ไม่มี au, à
la, aux หรือ de ในประโยค
|
lequel
|
laquelle
|
lequels
|
laquelles
|
ใช้เมื่อมี
de ใน
|
duquel
|
de laquelle
|
desquels
|
desquelles
|
ใช้เมื่อมี
au, à la, aux
|
auquel
|
à laquelle
|
auxquels
|
auxquelles
|
lequel,
laquelle, lequels และ laquelles อาจจะมีบุพบทอื่นย้ายมาวางอยู่ข้างหน้าได้ เช่น
sur
|
บน
on, over
|
pour
|
สำหรับ
for
|
avec
|
กับ
with
|
sans
|
ปราศจาก
|
contre
|
ติดกับ พาด
against
|
dans
|
ใน
|
devant
|
ข้างหน้า
in front
|
chez
|
ที่บ้าน กับ
at
|
en
|
ใน
in
|
ตัวอย่างการใช้
- Ce sont des personnes. On peut avoir
confiance en
des personnes.
=> Ce sont
des personnes en
qui on peut avoir confiance.
=> Ce sont
des personnes en
lesquelles on peut avoir confiance. (lesquelles แทน des personnes)
กริยาที่ตามด้วย
à เช่น
parler à
|
พูดกับ
|
donner à
|
ให้กับ
|
expliquer à
|
อธิบายแก่
|
sourire à
|
ยิ้มให้
|
écrire à
|
เขียนถึง
|
téléphoner
à
|
โทรหา
|
penser à
|
คิดถึง
|
résister à
|
ต่อต้าน
คัดค้าน
|
renoncer à
|
ยกเลิก
|
s’intéresser
à
|
สนใจใน
|
s’habituer
à
|
เคยชินกับ
|
s’opposer à
|
ค้าน
ไม่เห็นด้วยกับ
|
tenir à
|
สนใจใน
|
tenir à
faire
|
ตั้งใจทำ
|
grâce à
|
ขอบคุณ
thanks to
|
assister à
|
เข้าร่วมประชุม
เป็นพยาน
ดู to watch
|
arriver à
|
เดินทางถึง
ประสบผลสำเร็จ
|
avoir
recours à
|
ใช้
(ใช้ทรัพยากร)
|
apprendre à
|
เรียน
|
commander à
|
สั่ง ควบคุม
|
se mettre à
|
เริ่ม
|
obéir à
|
เชื่อฟัง
|
parvenir à
|
ประสบผลสำเร็จ
|
plaire à
|
ชอบที่จะ
|
répondre à
|
ตอบ
|
ressembler
à
|
คล้ายกับ
|
rêver à
|
ฝันที่จะ
|
semblable à
|
คล้ายกับ
|
servir à
|
ใช้สำหรับ
|
réflichir à
|
คิด
|
accrocher à
|
แขวนกับ
|
|
|
|
|
ตัวอย่างการใช้
auquel, à laquelle
- C’est l’homme. Mon mari a parlé à cet homme
hier.
=> C’est l’homme à
qui mon mari a parlé hier.
=> C’est l’homme auquel
mon mari a parlé hier. (auquel ใช้แทน à cet homme เพราะ cet homme
เป็นคำนามเพศชาย เอกพจน์ และในประโยคมี à หน้าคำนามเพศชายเอกพจน์ ต้องเปลี่ยนเป็น
au จึงเป็น auquel หรือจะใช้ à qui แทนก็ได้)
- C’est la femme. Tu as souri à cette femme.
=> C’est la femme à
qui tu as souri.
=> C’est la femme à
laquelle tu as souri. (à laquelle ใช้แทน cette femme
ที่เป็นคำนามเพศหญิง เอกพจน์ ที่อยู่หลัง à
คำบุพบทที่ใช้
de เช่น
en face de
|
ตรงข้าม
|
à coté de
|
ข้างๆ
|
près de
|
ใกล้กับ
|
à proximité de
|
ใกล้กับ
|
à cause de
|
เนื่องจาก
|
en bas de
|
ข้างใต้ อยู่ก้น
at the bottom
|
en haut de
|
ข้างบน อยู่สูง
|
auprès de
|
ใกล้
กับ
|
à l’occasion de
|
เนื่องในโอกาส
|
au-delà
|
ที่เหนือกว่า
มากกว่า
beyond
|
à propos de
|
เกี่ยวกับ
about
|
au cours de
|
ระหว่าง
during
|
à la suite de
|
ติดตาม
ตามนี้
|
à l’intérieur de
|
ข้างใน
|
à l’extérieur de
|
ข้างนอก
|
au-dessus de
|
ข้างล่าง
|
au dessous de
|
ข้างบน
|
en fonction de
|
เนื่องด้วย
|
en fin de
|
ช่วงท้าย
|
au début de
|
เริ่มตัน
|
en début de
|
เริ่มตัน
|
au centre de
|
ตรงกลาง
|
autour de
|
รอบๆ
|
au milieu de
|
ตรงกลาง
|
à bord de
|
บนเครื่องบิน
บนรถ
|
loin de
|
ไกลจาก
|
en raison de
|
เพราะว่า
|
ตัวอย่างการใช้
duquel, de laquelle
- Elles
habitent près d’un hôtel. Cet hôtel
est très connu.
=> L’hôtel
près duquel
elles habitent est très connu. (cet hôtel คำนามเพศชาย เอกพจน์ ซึ่งมีคำว่า près
de อยู่ จึงต้องใช้ duquel – près duquel)
ข้อควรจำ
1) dont จะใช้กับกริยาที่ตามด้วย de เช่น V. parler de, V. se souvenir de
เป็นต้น และคำนาม หรือ adjectif ที่แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น les parents de, les
bras de, mon maison, son jardin เป็นต้น รวมถึงสำนวนที่ใช้ V. être + adj + de
เช่น V. être fier de และ V. avoir + n + de เช่น V. avoir peur de, V. avoir
envie de เป็นต้น
2) duquel, de
laquelle, desquels, desquelles จะใช้กับสำนวนหรือบุพบทที่ตามด้วย de หรือ les
locutions prèpositives
เคล็ดไม่ลับ ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่าจะใช้ pronom relatif composée
ตัวไหน?
1.
ลองนำประโยคหลังมาตั้งคำถามดู
2.
จำกริยาและสำนวนว่า
ตัวไหนตามด้วย à ตัวไหนตามด้วย de
ตัวอย่าง Voici le plongeoir .......... j’ai sauté pour
la compétition de saut à la piscine.
นี่ไงกระดานกระโดดน้ำที่ซึ่งฉันได้กระโดดลงไปเพื่อการแข่งขันกระโดดน้ำในสระน้ำ
คำถาม คือ J’ai sauté de
quoi? Le
plongeoir => J’au sauté du plongeoir pour la compétition de saut à la
piscine.
กริยา คือ V. sauter de
คำตอบ คือ de + lequel
ที่ใช้กับเพศชาย เอกพจน์ ใช้แทน le plongeoir => duquel
Voici le plongeoir duquel j’ai sauté pour la compétition de saut à la
piscine.
C’est bien le jeu ...... nous
pensons.
มันเป็นเกมที่ซึ่งพวกเรานึกถึง
คำถาม คือ Nous pensons à quoi? Le jeu => Nous pensons au jeu. (à+le = au)
กริยา คือ V. penser à
คำตอบ คือ à+le กลายเป็น au + quel
=> auquel ใช้แทน le jeu ที่เป็นนามเพศชาย
เอกพจน์
C’est bien le
jeu auquel
nous pensons.
สาวๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์สรุปเก็บไว้อ่านได้ที่นี่ค่ะ https://drive.google.com/file/d/0B_oD2Gt3XahWaWVCYWZWTG1hSm8/view?usp=sharing
Bon courage à tous!
มีประโยชน์มากๆค่ะ ขอบคุณที่รวบรวมไว้ให้คนได้ค้นคว้านะคะ
ReplyDelete