Thursday, December 27, 2018

ทริปพาน้องไปทำหนังสือเดินทาง

ต่อเนื่องจากโพสที่แล้ว ซึ่งเป็นโพสแชร์ประสบการณ์การเดินทางเข้ากรุงของสะใภ้ฯ บ้านนอก เพื่อเดินทางพาน้องไปแรด 1 วัน 1 คืน  ส่วนทริปนี้ เป็นทริปที่พาน้องไปทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ และพ่วงด้วยการทำเอกสารของตัวเอง คือ ตั้งใจจะไปรับรองใบแต่งงาน หรือ Act de Mariage ที่กระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส เพื่อที่จะส่งไปแปลเป็นภาษาไทยอีกที

 

ในทริปนี้ เริ่มจากการจองวันและเวลาในการยื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ของน้องก่อนเลย เพราะจุดประสงค์หลักในทริปนี้ คือ พาน้องไปทำหนังสือเดินทางใหม่  มาดามอาสาพาไปเอง และก็จะไปทำธุระเรื่องเอกสารของตัวเองด้วย (สรุป คือ จะไปทำธุระที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส) เมื่อเลือกวันและเวลาได้แล้ว ก็ทำการจองเลย สามารถอ่านขั้นตอนในการจองคิวออนไลน์เพื่อทำหนังสือเดินทางได้ที่นี่ https://chezbeameiz.blogspot.com/2018/12/blog-post.html

พอได้วันและเวลาแล้ว ขั้นต่อไปก็ไปจองที่พัก ครั้งนี้ได้ที่พัก 1 คืน ที่ Hôtel Choiseul Opéra จองผ่าน booking.com เช่นเคย และก็เลือก 9e arrondissement เหมือนเดิม เพราะเคยชิน พอจำเส้นทางได้ ครั้งนี้ได้ราคาถูก คือ คืนละ 99€ แถมได้เตียงคู่ หรือ lits jumeaux หรือ twin bed  แต่ถ้าคำว่า lit double คือ double bed เตียงใหญ่ สำหรับนอนสองคนค่ะ (ห้องใหญ่กว่า แถมเดินใกล้กว่า ใกล้สถานี Opéra มาก)
ข้อแนะนำ จะไม่จองที่พักพร้อมอาหารเช้า เพราะสามารถเข้าร้าน Boulangerie แล้วซื้อพวก petit pain และ viennoise มากินเอง แถมประหยัดตังค์กว่า

เมื่อได้ห้องแล้ว ก็ต้องจองตั๋วรถไฟค่ะ จองผ่าน OUI SNCF เช่นเคย ครั้งนี้ดูเวลาไปผิด เลยตกรถไฟ ต้องซื้อตั๋วใหม่ จากที่ว่าประหยัด เลยเจอตั๋วราคาเบิ้ลไปเลย  เนื่องจากซื้อตั๋วถูกของ  OUI SNCF ถ้าเลยเวลาแล้ว หรือรถไฟออกไปแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนตั๋วได้ ต้องซื้อตั๋วใหม่อย่างเดียว ถ้าไปติดต่อซื้อที่เคาน์เตอร์  SNCF ที่สถานีรถไฟ เขาจะขายราคาเต็ม ถ้าต้องการตั๋วถูก ต้องซื้อผ่านเว็บ OUI SNCF https://www.oui.sncf/ หรือซื้อผ่านแอพของ OUI SNCF เท่านั้น

อุทาหรณ์ ก่อนเดินทางต้องเช็ควัน เวลา ตั๋วรถไฟให้ดี อย่าสับสันค่ะ ไม่งั้นจากจ่ายถูก เลยกลายเป็นแพงแบบไม่ใช่เรื่อง

การเดินทางในครั้งนี้ มาดามเครียดมาก เพราะทำน้องตกรถไฟ เป็นความผิดของมาดามเองที่ไม่เช็คก่อนวันเดินทาง ในหัวยังจำกำหนดการอันเก่า เลยจำว่าออกเดินทางบ่ายสาม แต่ในความเป็นจริงรถไฟออกบ่ายโมง ซึ่งในตอนนั้น มาดามยังอยู่บ้านอยู่เลย  พอไปถึงสถานี ก็ต้องวนหาที่จอดรถ เพราะเป็นช่วงที่ตลาดคริสต์มาสในเมืองสตาสบูร์กเปิด จึงไม่มีที่จอดรถ วนกันไปสามสี่รอบ กว่าจะมีสักที่ พอไปถึงก็ต้องรีบไปติดต่อที่เคาน์เตอร์ เผื่อเปลี่ยนตั๋วได้ แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้ จึงต้องออกมายืนจองผ่านแอพเอง แบบรีบเร่งและมือสั่น  ระหว่างยืนรอเวลา เพื่อดูว่ารถไฟเที่ยวที่เราจะไปนี้ จะจอดที่ชานชาลา หรือ Voie ไหน ซึ่งจะขึ้นจอก่อนหน้ารถไฟออก ประมาณ 30-20 นาที   มีเหตุการณ์ระทึกขวัญ คือ มีคนทิ้งกระเป๋าเดินทางไว้ในสถานีรถไฟ 2 จุด ซึ่งเป็นการก่อกวนแน่นอน เพราะถ้าคนลืม คงลืมแค่ใบเดียว นี่มีถึง 2 ใบ และทิ้งไว้คนละที่ เลยมีการกั้น ไม่ให้คนเข้าออก มาดามและน้องต้องอพยพเข้าไปข้างใน โดยไม่รู้ชะตากรรม แถมไม่รู้ว่าต้องไปชานชาลาไหน พอเจ้าหน้าที่มาไล่ มาดามเลยพาน้องขึ้นไปที่ชานชาลา 3 เพราะครั้งก่อนมาดามก็ขึ้นที่ชานชาลา 3 โชคดีไปที่เจ้าหน้าที่ประกาสว่ารถไฟไปปารีสให้ไปขึ้นที่ชานชาลา 3

พอถึง Gare de l'EST ก็ตรงดิ่งไปขึ้นเมโทรสาย 7 เลย แต่ต้องซื้อตั๋วเมโทรก่อน มาดามก็เลือกไปเลือกมาว่าถ้าซื้อตั๋ววันเดียว กับสองวัน อันไหนจะคุ้มกว่ากัน สรุปว่าซื้อตั๋วสองวันค่ะ ราคาถูกลงมาหน่อย ครั้งนี้ซื้อที่ตู้ หรือ la machine เอง เลยไม่ได้แผนที่ จริง ๆ แล้ว เวลาซื้อตั๋ววัน ควรเขียนชื่อนามสกุลไว้บนตั๋วด้วย เผื่อทำหล่นหาย และควรเก็บใบเสร็จในการซื้อตั๋วไว้ด้วย เพราะบางครั้ง ตั๋วเราเยินมาก เวลาหยอดเครื่องเพื่อเดินเข้าไปในสถานี ตั๋วใส่ไม่ได้ หรือ ตั๋วเข้าไป แต่ไม่ออกมา ทั้งที่เราซื้อตั๋วสองวัน มาดามเลยไปแจ้งเจ้าหน้าที่ในเคาน์เตอร์ พร้อมยื่นใบเสร็จให้ดูค่ะ เขาเลยเปิดประตูให้ผ่านเข้าไปได้

ทริปนี้ มาดามดั้นด้นพาน้องไปกินมื้อค่ำที่ร้านอาหารไทย ชื่อ ร้านไทยยิ้ม 2 Thai Yim 2 อยู่เขต 13 หรือ 13e arrondissement มาดามไม่เคยไป เลยต้องถามทางให้วุ่นค่ะ เดินผ่านไปผ่านมา เกือบไม่ได้กินแล้ว  ขอบอกว่าคุ้มค่ามาก อาหารอร่อย รสชาติจัดจ้าน สั่งตำถาดไป ราคา 16€ เศษ เผ็ดจนร้องไห้ เพราะดันไปสั่งว่าเอาเผ็ด ๆ

วันรุ่งขึ้น เช็คเอ้าท์ออกแต่เช้า มาดามจะไปรับรองเอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศ ที่





มาดามอยากจะแนะนำว่า ถ้าสะใภ้ฯ คนไหนใช้ iphone เราสามารถเก็บใบจองและตั๋วใน Wallet  มาดามจะเก็ใบจองโรงแรมที่จองผ่าน booking.com เวลาเราไปถึงโรงแรมก็โชว์ให้ reception ดูได้เลยค่ะ รวมถึงตั๋วรถไฟ TGV และตั๋วเครื่องบินของสายการบินไทย


ค่าเสียหายสำหรับการเดินทางไปทำธุระ (ไม่รวมค่าอาหาร) มีดังนี้
  • ค่า TGV สำหรับ 2 คน  : ขาไป 90€ (ตั๋วซื้อทิ้งเปล่า เพราะตกรถไฟ) + ขาไป ซื้อใหม่ 202€  + ขากลับ 138€ = 430€ 
  • ค่าที่พัก 1 คืน ราคา 99€
  • ค่าเมโทร 2 วัน สำหรับ 2 คน ราคา 39€
ค่าเสียหายต่อคน คือ 284€ แต่ถ้าไม่ตกรถไฟ ก็จะประหยัดกว่านี้ คือ จะตกคนละ 178,5€

การเดินทางไปปารีสของสะใภ้เขต 67: ทริปพาน้องแรด

สวัสดีค่ะสาว ๆ
วันนี้มาดามจะมาแชร์ประสบการณ์เดินทางจากเมืองสตราสบูร์กไปยังกรุงปารีส Strasbourg - Paris ซึ่งปีนี้มาดามเดินทางเอง ไม่มีสามีพาไปค่ะ ครั้งแรกเป็นทริปพาน้องแรด และอีกทริปเป็นการพาน้องไปทำหนังสือเดินทาง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ทั้งสองทริปนี้ เป็นการเดินทางแบบ 2 วัน 1 คืน  (2 days and 1 night trip หรือ Deux jours, une nuit เดอ ชู อุน นุย)  อาจจะเป็นแนวทางสำหรับสะใภ้ฯ เขต 67 หรือเขตอื่น ๆ ที่สนใจจะเดินทางไปทำธุระ หรือไปเที่ยวกรุงปารีสด้วยตนเองค่ะ

ก่อนอื่น มาดามขออนุญาตแชร์ข่าวสารประชาสัมพันธ์จากเว็บสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส เรื่องข้อพึงระวังสำหรับการท่องเที่ยวในฝรั่งเศส  สามารถอ่านได้ที่ http://www.thaiembassy.fr/2018/12/04/%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%97%e0%b8%b9/

สรุปง่าย ๆ คือ
  • เมืองท่องเที่ยวชื่อดังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กรุงปารีส สตาสบูร์ก โคลมาร์ มาร์เซย และที่อื่น ๆ ก็ต้องระมัดระวังตัวเอง หูตาต้องไว อย่าพกเงินสดติดตัวเยอะมาก และต้องเก็บกระเป๋าสตางค์ของเราให้ดีค่ะ ยิ่งถ้าไปเดินเที่ยวแถวหอไอเฟล มักจะเจอกลุ่มผู้หญิงต่างชาติทำทีมาขอสัมภาษณ์ หรือ survey ก็ไม่ต้องสนใจ ไม่ต้องให้ข้อมูล survey หรือเซ็นชื่อเลยค่ะ เพราะเธอเหล่านั้น คือ มิจฉาชีพที่คอยฉวยโอกาสตอนเราเผลอ แล้วฉกกระเป๋า และทรัพย์สินมีค่าของเราไปค่ะ
  • เวลาถ่ายรูป อย่าวางกระเป๋าทิ้งไว้โดยไม่มีคนเฝ้า เด็ดขาด และการขอให้คนอื่นถ่ายรูปให้ ก็ควรดูให้ดีก่อน เผื่อโดนเขาฉกมือถือ หรือกล้องเราไปค่ะ
  • ให้เมมเบอร์ฉุกเฉินไว้ โดยเฉพาะเบอร์ของสถานทูตฯ
           เบอร์ +33 1 56 26 50 50 ติดต่อได้ในวันจันทร์ - วันศุกร์ ระหว่างเวลา 09:30 - 12:30 และ 14:00 - 17:00
         หมายเลขฉุกเฉิน  + 33 6 03 59 97 05 และ + 33 6 46 71 96 94
        หมายเลขฉุกเฉินในฝรั่งเศส คือ
โทร 15 SAMU  รถพยาบาล จะมาพร้อมทีมช่วยเหลือทางการแพทย์
Le SAMU (service d'aide médicale d'urgence) peut être joint pour demander l'intervention d'une équipe médicale si vous vous trouvez en situation de détresse. Ce numéro vous permet aussi d'être redirigé vers des organismes de permanences des soins pendant la nuit, les weekends et les jours fériés. Quelque soit la raison de votre appel, vous serez mis en relation avec un médecin.

โทร 18 เรียกเจ้าหน้าที่ดับเพลิง หากมีเพลิงไหม้ แกสรั่ว (บางทีเพื่อนบ้านสะใภ้ฯ จะเรียก pompiers มาเวลาสะใภ้คั่วพริกจนฉุนไปทั้ง appartement ค่ะ)
Le 18 doit être composé dans une situation de péril (incendie, fuite de gaz...), en cas d'accident concernant des bien ou des personnes et qui nécessite une intervention immédiate. En composant ce numéro, vous serez directement mis en relation avec un pompier ou un secouriste professionnel.

โทร 17 เรียกตำรวจ หากมีเหตุด่วน เหตุร้าย ขโมยขึ้นบ้าน โดนทำร้ายร่างกาย ถูกปล้น เบอร์โทรเรียก Police secours : Ce numéro est utile pour signaler une infraction (cambriolage, braquage, agression...) nécessitant une intervention immédiate des services de police.
       
โทร 112 เบอร์ฉุกเฉินสำหรับสหภาพยุโรป คือ ถ้าพบเห็นหรือเป็นพยานเหตุการณ์ในอุบัติเหตุ เหตุเพลิงไหม้ การปล้น ในประเทศของสหภาพยุโรป ยกเว้นประเทศเซอร์เบีย la Serbie, มอนเตเนโกร le Monténégro และประเทศอัลบาเนีย l'Albanie ซึ่งในภาษาฝรั่งเศส คือ เบอร์  Numéro d'appel d'urgence européen : Vous pouvez composer ce numéro si vous êtes témoin ou impliqué dans un accident, un incendie ou un cambriolage dans n'importe quel autre pays de l'Union européenne (sauf la Serbie, le Monténégro et l'Albanie).

เบอร์ 114 ส่ง SMS หรือ fax เป็นเบอร์สำหรับผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน หรือไม่สามารถพูดได้ หากตกเป็นเหยื่อ โดนทำร้ายร่างกาย ต้องการความช่วยเหลือด่วน หรือเป็นพยานเห็นเหตุการณ์  ในภาษาฝรั่งเศสเรียกเบอร์ 114 ว่าเป็นเบอร์สายด่วนสำหรับคนหูหนวกและเป็นใบ้ หรือ Numéro d'urgence pour personnes sourdes et malentendantes : Accessible par SMS et fax, ce numéro est destiné aux personnes ayant des difficultés à entendre ou parler. Vous pouvez l'utiliser si vous êtes victime ou témoin d'une situation nécessitant l'intervention des services de secours.

ข้อมูลจาก https://www.rtl.fr/actu/debats-societe/infographie-samu-pompiers-police-quel-numero-composer-en-cas-d-urgence-7793321390




  • ควรสำเนาเอกสารการเดินทางต่าง ๆ หรือถ่ายรูป และส่งไฟล์เข้าเมล์ตัวเอง เผื่อทำเอกสารสำคัญหายจะได้มีใช้อ้างอิงได้
  • กรณีทำหนังสือเดินทางหาย สำหรับนักท่องเที่ยวไทย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่  http://www.thaiembassy.fr/services/passport/passport-lost/
เข้าเรื่องการเดินทางเข้ากรุง ตามประสาสะใภ้ฯ บ้านนอก นะคะ

แบบท่องเที่ยว 1 วัน 1 คืน   ทริปพาน้องแรด  ณ  กรุงปารีส (นั่งรถไฟ TGV ถึงประมาณ 9 โมงเช้า เดินเที่ยวแบกเป้ไปจนเย็น เข้าโรงแรม ชาร์ตแบต ออกแรดต่อ หลงทาง และเข้านอนตอนเที่ยงคืน เพราะหลงทางหาโรงแรมไม่เจอ แถมแบตมือถือจะหมด)
 
  • จองที่พัก จองผ่านเว็บ booking.com สำหรับมาดามจะเลือกพักที่ 9e arrondissement ค่ะ โซน Opéra Garnier เพราะสะดวกสบายในการเดินทาง แถมเป็นโซนที่เดินไปกินอาหารญี่ปุ่น เกาหลี ได้ด้วย ในการจองที่พัก ราคาในแต่ละวันจะขึ้นมาไม่เท่ากัน ทั้งที่เป็นโรงแรมเดียวกัน และวันที่เข้าพักวันเดียวกัน ต้องหมั่นเข้าไปเช็คราคา ถ้าคิดว่าได้ราคาถูกใจ ยอมจ่าย ก็รีบจองเลย อย่าปล่อยให้ใกล้วันที่ต้องเดินทางค่อยจอง บางครั้งจะไม่มีห้องราคาถูกและดีเหลือให้เหมือนมาดามนะคะ มาดามโดนไป 110€ ห้องเล็กมาก อยู่ย่าน Chaussée d'Antin โรงแรม Hotel Antin Trinité อยู่ข้างหลังห้าง Galeries Lafayette Haussmann
         ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนว่าชอบอยู่ย่านไหนนะคะ
         ข้อดีสำหรับที่พักในย่าน 9e หรือ Opéra Garnier คือ สะดวกในการนั่งเมโทรไปไหนต่อไหน ไม่ว่าจะตอนลงจากรถไฟ TGV ที่ Gare de l'Est แล้วต่อสาย 7 สีชมพู direction ไป mairie d'ivry et Villejuif และลงที่สถานี Opéra หรือ Chaussée d'Antin และถ้าต้องการไปหอไอเฟล ก็แค่เปลี่ยนสายที่ Chaussée d'Antin นั่งสาย 6 สีเขียว direction ไป Pont de Sèvres และลงที่สถานี Trocadéro เลยค่ะ ขากลับก็นั่งสาย 6 direction Montreuil ลง Opéra
ขากลับบ้านก็ขึ้นที่ Opéra สาย 7 ลงสถานี Gare de l'Est เพื่อนั่งรถไฟกลับบ้านแบบยิงยาว

  • การเดินทางแบบประหยัดเงิน คือ การเดินทางในวันธรรมดา เพราะถ้าเลือกเดินทางในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ค่าเดินทางและค่าที่พักจะราคาสูง 
    • เดินทางโดย TGV จองผ่านแอพพลิเคชั่น Oui SNCF (สามารถโหลดเข้ามือถือได้เลย) ถ้าเลือกจองของ TGV INOUI  ใช้เวลาเดินทาง 1:48 และ OUIGO จะราคาถูกกว่า คือ 16 ยูโร ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง อันนี้เป็นแบบชั้น 2 และจ่ายแค่ขาไปขาเดียวค่ะ  ตัวมาดามเองจะเลือกไปแต่เช้าแล้วเดินเล่นก่อนช่วงเช้า พอบ่ายสามหรือบ่ายสี่ค่อยเข้าโรงแรม ส่วนขากลับจะเลือก TGV รอบ 18h เป็นต้นไป จะได้เที่ยวได้อีก แต่ถ้าไม่มีคนมารับที่สถานีรถไฟ ก็ต้องแพลนให้ถึง Strasbourg ก่อนที่รถบัสเข้าบ้านจะหมดด้วยค่ะ   ที่มาดามชอบเลือกเดินทางด้วย TGV เพราะสะดวก และประหยัดเวลากว่านั่งรถบัสค่ะ เหมาะที่สุดสำหรับทริป 2 วัน 1 คืน ณ กรุงปารีส 
                   ถ้าเราเลือกขาไปแบบถูก 16€ ขากลับก็เลือก 16 €  อีก ถ้ามีเที่ยว TGV ที่ถูกใจ ค่าเสียหายในการเดินทางไปกลับก็แค่ 32€ เอง (ต้องวางแผนการเดินทางและต้องจองล่วงหน้า ถึงจะได้ราคาถูกมาก ๆ  ไม่ควรจองตอนใกล้จะเดินทาง เพราะตั๋วถูกได้ขายไปจนหมดแล้ว บางทีอาจโดนไฟลท์บังคับให้ซื้อตั๋วชั้นหนึ่งราคา 120€ ด้วยค่ะ) ของมาดามเองเสียค่าเสียหายไป 260€ (ไป-กลับ สำหรับ 2 คน) เพราะเดินทางวันศุกร์ กลับเสาร์ เลยเจอค่ารถแพงหน่อยค่ะ แถมจองแบบกระทันหันด้วย

 
    • เลือกเดินทางโดยรถบัส ของ Ouibus ราคาเฉลี่ย 22 + 18 = 40 ยูโร สำหรับไปกลับ โดยใช้เวลาเดินทาง 7-8 ซั่วโมง  (อันนี้มาดามยังไม่มีประสบการณ์ค่ะ)
  • การเดินทางในกรุงปารีส คือ เมโทร Métro หรือรถไฟใต้ดิน บางสายก็โผล่ขึ้นมา แบบ BTS บ้านเราเลยค่ะ สำหรับนักท่องเที่ยว แบบมาดาม ถ้าเที่ยว 2 วันเต็มก็ให้ซื้อตั๋ว 2 วัน ราคา 19,50€ ถ้ามีเวลาเที่ยวแค่วันเดียว ก็ซื้อตั๋ววันเดียว หรือ une journée ราคา 12,00€  
         ข้อแนะนำ ถ้าต่อคิวซื้อตั๋วที่เคาน์เตอร์ ตอนเดินไปขึ้นเมโทรในสถานี Gare de l'Est พนักงานขายจะให้แผนที่ เมโทร สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการเดินทางไปเที่ยวแบบสาวบ้านนอกอย่างมาดามค่ะ จะไปไหนก็กางแผนที่ดู และดูสีของเมโทร เพื่อวางแผนว่าจะต้องนั่งสายไหน ลงที่ไหน ต่อสายไหนค่ะ  มาดามกางจนแผนที่ขาดเลยคร้า
 
  •   ก่อนเดินทางไปปารีส ควรโหลดแอพพลิเคชั่น ชื่อ  City Mapper เอาไว้ใช้ จะได้ไม่ต้องกางแผนที่ดูแบบมาดาม  ถ้าไม่โหลดไว้ล่วงหน้าจากที่บ้าน เวลาไปโหลดที่โรงแรมจะช้ามาก เพราะ wifi ไม่แรงเท่าที่บ้านค่ะ
 
 


  •  ควรนำ power bank ติดตัวไปด้วย จะได้ไม่ระทึกขวัญตอนเปิด google map หาโรงแรม แบบมาดาม
  • ระหว่างเดินทาง ควรพกขวดน้ำน้อยติดตัว เผื่อหิวน้ำหลังจากการเดินเที่ยวแบบมาราธอน
  • ควรใส่รองเท้าคู่ที่สบายเท้า ไม่กัดหรือบีบเท้า เพราะเป็นทริปวันเดียวที่ต้องเดิน และเดิน จำไว้ว่าเวลาแห่งความสุข เวลาเที่ยว มันน้อย ยิ่งเที่ยวช่วงหน้าหนาว สี่โมงเย็นก็มืดแล้ว จะไม่มีแสงสวยให้ถ่ายรูปค่ะ
  • ร้านอาหาร ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ทริปพาน้องแรด ทริปนี้ มาดามจัดแต่อาหารญี่ปุ่นค่ะ ร้านนี้อร่อย ไม่แพง คนแน่นร้าน ชื่อร้าน Kintaro อยู่ที่ 24 Rue Saint-Augustin ย่าน Opéra ค่ะ ตอนค่ำก็กินทาโกะยากิ ร้าน Happa Tei เป็นร้านเล็ก ๆ คิวยาว จัดว่าอร่อยอยู่ ตั้งอยู่บนถนน Sainte-Anne ข้างร้านก็จะมีชานมไข่มุกไต้หวันขายด้วยค่ะ ร้านนี้จะอยู่ตรงข้ามร้านซูปเปอร์เกาหลี Ace Mart

สรุปค่าเสียหาย 2 คน ก็ประมาณ 450€ ค่ะ (ค่าเดินทาง 260 + ค่าโรงแรม 110 + métro 24 + ค่ากิน 50-60€)

Wednesday, December 26, 2018

การขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่สำหรับสะใภ้ฝรั่งเศส

มาดามขอแชร์ประสบการณ์ในการขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส (มาดามช่วยดำเนินการให้น้องค่ะ )  เพื่อเป็นแนวทางให้สะใภ้ฝรั่งเศส  เพราะอาจจะมีหลายคนที่ต้องดำเนินการเอง และยังไม่ค่อยเข้าใจว่าต้องทำอย่างไร สามีฝรั่งเศสก็ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเอกสารไทยด้วย

ก่อนอื่น สะใภ้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หนังสือเดินทาง หรือ พาสพอร์ตไทยของเรา มีอายุ 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปี และไม่สามารถนำเล่มเก่าไปต่ออายุได้ เพราะประเทศไทยเราเปลี่ยนมาใช้หนังสือเดินทางแบบ E-Passport มานานหลายปีแล้วค่ะ ซึ่งจะไม่สามารถต่อเล่มได้เหมือนเมื่อ 20 กว่าปีก่อนนู้น


ขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (สำหรับผู้มีถิ่นพำนักในฝรั่งเศส)


ข้อมูลที่ควรทราบ

  1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) คือหนังสือเดินทางที่มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (Biometric Data) ได้แก่ รูปใบหน้าและม่านตา หรือลายนิ้วมือไว้ใน Contactless Integrated circuit ซึ่งฝังอยู่ในหนังสือเดินทาง และมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของหนังสือเดินทาง
  2. E-Passport มีอายุใช้งาน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุอีก เมื่อหนังสือเดินทางใกล้หมดอายุ (6 เดือน) จะต้องขอเล่มใหม่ มิเช่นนั้นอาจไม่ได้รับอนุญาตจากสายการบินให้ขึ้นเครื่อง
  3. ข้อมูลส่วนตัวในหนังสือเดินทางจะอ้างอิงตามข้อมูลในทะเบียนราษฏร์ของผู้ขอหนังสือเดินทางที่ประเทศไทย ดังนั้น ชื่อ-สกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยอาจไม่ตรงกับหนังสือเดินทางเล่มเดิม
  4. หากผู้ยื่นคำร้องต้องการให้ นามสกุลในหนังสือเดินทาง เป็นนามสกุลหลังการสมรส/หย่า จะต้องแก้ไขข้อมูล
    ทะเบียนราษฏร์ ก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทาง
ข้อมูลจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส

เมื่อไหร่ที่ต้องไปขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่?
  สะใภ้ฯ ต้องไปทำก่อนที่หนังสือเดินทางจะหมดอายุ 6 เดือน  โดยให้ดูในเล่มหนังสือเดินทางของสะใภ้ฯ ตรงวันที่หมดอายุ หรือ Date of Expiry แล้วลองนับดูค่ะ


 สมมติว่าต้องเดินทางกลับไทยเดือนเมษายน แต่ในเล่มหนังสือเดินทางจะหมดอายุวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2019 สะใภ้ฯ จะต้องไปขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส เพราะหนังสือเดินทางหมดอายุก่อนที่จะเดินทางกลับไทยเสียอีก

ขั้นตอนการขอทำหนังสือเดินทางสำหรับสะใภ้ฯ ที่อาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส มีดังนี้
1) ต้องจองคิวออนไลน์ที่เว็บของสถานทูตฯ  โดยเข้าไปที่ http://www.thaiembassy.fr/ 

2) จากนั้นให้คลิกที่กล่องสีฟ้า "นัดหมายออนไลน์ เพื่อขอทำหนังสือเดินทาง" ด้านขวามือ 
หรือคลิกที่เมนูด้านบน "บริการคนไทย" เลือกรายการ "หนังสือเดินทาง"
3) คลิกที่กล่องสีฟ้าเพื่อทำการจองคิวออนไลน์
4) เข้าหน้าระบบจองคิวออนไลน์ เพื่อขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่
สำหรับตัวระบบจองคิวออนไลน์ จะมีทั้งหมด 6 หน้า หรือ 6 รายการ โดยหน้าแรกของระบบจะอธิบายถึงเงื่อนไข รายการเอกสารที่ต้องใช้ ขั้นตอนการขอทำหนังสือเดินทาง เป็นต้น

หลังจากอ่านรายละเอียดแล้ว ให้เลื่อนไปจนสุดหน้า เพื่อติ๊กในช่อง "ข้าพเจ้ายืนยันว่าได้อ่านข้อความอย่างละเอียดถี่ถ้วนและทำความเข้าใจแล้ว" จากนั้นให้คลิก "ต่อไป" เพื่อทำรายการต่อไป



 5) เข้าหน้าเลือกวัน เวลา ที่ต้องการไปยื่นเอกสารขอทำหนังสือเดินทางกับสถานทูตฯ โดยให้คลิกเลือกในช่องวงกลมด้านขวาสุด และคลิก "ต่อไป"

 6) กรอกข้อมูลส่วนตัวของสะใภ้ฯ เป็นภาษาอังกฤษ
    - เลือกประเภทหนังสือเดินทาง คือ บุคคลทั่วไป
    -  เลือกคำนำหน้าตามบัตรประชนไทย (แต่งงานและใช้คำนำหน้าว่า นาง ให้เลือก Mrs. แต่ถ้าแต่งงานที่ฝรั่งเศส และไม่ได้ไปแจ้งเปลี่ยนสถานะและนามสกุลที่ไทย ให้เลือก Ms. หรือ Miss)
   - กรอก ชื่อจริง และนามสกุล เป็นภาษาอังกฤษ ตามหนังสือเดินทางเล่มเก่า
   - กรอกเบอร์มือถือ และอีเมล์
จากนั้นคลิก "ต่อไป"
7) เข้าหน้ายืนยันการจองคิวออนไลน์
ระบบจะส่งไฟล์เอกสารการจองและรายการเอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นในวันเวลาที่จองคิวไว้ ไปยังเมล์ที่กรอกไว้ในหน้าก่อน
สรุปขั้นตอนการยื่นคำร้องเพื่อขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่กับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส
1) จองคิวออนไลน์ ตามขั้นตอนที่มาดามอธิบายไว้แล้ว
คลิกที่ http://paris.thaivisareservation.com/default.aspx?qry=omy3B%2bv4Qig67s2XrA1fPZSxB8pXBoIOHAOcX7%2fnxu%2fxuWGGOJo83msq5twfk0Jz

 เพื่อเข้าหน้าการจองคิวออนไลน์โดยตรง
2)  เตรียมเอกสารเพื่อใช้ยื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่
     - ใบยืนยันการจองคิว ที่สถานทูตฯ ส่งไปที่เมล์ของสะใภ้ (สะใภ้ต้องปริ้นเอกสารฉบับนี้ออกมา)
     - หนังสือเดินทางเล่มเก่า พร้อมสำเนา 2 ชุด (เอาเฉพาะหน้าที่มีรูปถ่าย)
     - บัตรประชาชนไทย ที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมสำเนา 1 ชุด
     - ซองจดหมาย Lettre Suivie หาซื้อได้ที่ La Poste โดยซื้อซองที่มีน้ำหนักมากกว่า 150 กรัม เพื่อทางสถานทูตฯ จะได้จัดส่งเล่มหนังสือเดินทางมาให้สะใภ้ฯ ที่อยู่ไกลปารีส  (มาดามซื้อซองที่มีน้ำหนัก 500 กรัม เพราะไม่มีซอง 150 กรัมค่ะ ราคา 3,72 ยูโร) และสะใภ้ฯ ต้องจ่าหน้าซองถึงตัวเองด้วย
    - เงินค่าธรรมเนียม 30 ยูโร ให้เตรียมเป็นเงินสด
เมื่อถึงวันนัดหมายตามใบจองคิว ให้ไปที่สถานทูตฯ 8, rue Greuze 75116 Paris
ถ้านั่งเมโทร ให้ลงที่ Trocadéro และเดินไปค่ะ
จากนั้น ให้ไปนั่งรอในห้องโถง พอใกล้ถึงเวลานัดหมาย จะมีเจ้าหน้าที่มาขานชื่อของสะใภ้ฯ และพาไปถ่ายรูปอีกห้อง พร้อมยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่จะถ่ายรูปให้สะใภ้ฯ และสะใภ้ฯสามารถดูรูปและขอถ่ายใหม่ได้ หากรูปออกมาสวยไม่พอ อิอิ เป็นอันเสร็จ  โดยเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบว่าจะจัดส่งเล่มหนังสือเดินทางให้ภายใน 3 สัปดาห์ค่ะ


 Joyeuse fêtes นะคะ

ครั้งหน้าจะมาแชร์ประสบการณ์เดินทางไปขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สำหรับสาว ๆ เขต 67

Thursday, December 13, 2018

เรียนภาษาฝรั่งเศสกับข่าว: Fusillade à Strasbourg : ce que l'on sait des victimes

มาดามขอหยิบยกข่าวเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่ตลาดคริสตร์มาสเมื่อวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2018 มาแชร์ให้สาว ๆ อ่าน เพื่อทราบข้อมูลและฝึกภาษาฝรั่งเศสไปในตัว เผื่อจะนำไปพูดคุยเป็นภาษาฝรั่งเศสกับคนในครอบครัวได้ค่ะ
ข่าวนำมาจากเว็บข่าวท้องถิ่นของ Alsace หรีอ France 3 ในเขต Alsace 67 - 68
https://france3-regions.francetvinfo.fr/grand-est/bas-rhin/strasbourg-0/fusillade-strasbourg-ce-que-on-sait-victimes-1591077.html

เนื้อข่าวมีดังนี้   (มาดามขอแปลแบบจับใจความ ไม่ได้แปลให้ตรงตัวนะคะ)

Les balles du tireur ont touché 16 personnes âgées de 18 à 70 ans mardi soir dans les rues du centre-ville de Strasbourg. Trois personnes sont décédées, 8 autres sont gravement blessées et 5 ont été plus légèrement touchées. Il n'y a pas d'enfant parmi les victimes.

เมื่อค่ำวันอังคารที่ผ่านมา (11 ธันวาคม 2018) มีผู้ถูกยิงจำนวน 16 คน อายุระหว่าง 18 - 70 ปี โดยเหตุเกิดในย่านกลางเมืองสตราสบูร์ก มีผู้เสียชีวิต 3 คน และบาดเจ็บสาหัส 8 คน อีก 5 คนบาดเจ็บเล็กน้อย ไม่พบว่าผู้บาดเจ็บเป็นเด็กเล็ก

-les balles เล บาลเลอะ หมายถึง ลูกกระสุน (เป็นคำนามเพศหญิง une balle หรือ bullet ในภาษาอังกฤษ)
-le tireur เลอ ทีเครอ  หมายถึง คนยิง มือปืน มาจาก V. tirer ซึ่งปกติในความหมายทั่วไป tirer ทีเคร่ หมายถึง ดึง หรือ to pull ในภาษาอังกฤษ  นอกจากนี้ tirer ยังหมายถึง ยิงปืน หรือ to shoot ในภาษาอังกฤษอีกด้วย ดังนั้น un tireur จึงเทียบเท่ากับ  a shooter ในภาษาอังกฤษ
-les personnes หมายถึง คน (เป็นคำนามเพศหญิง une personne) หรือ person ในภาษาอังกฤษ
-V.être décédé (e), (es) หมายถึง ตาย เสียชีวิต เมื่อมีคนตายหลายคน จึงต้องผัน v.être เป็นพหูพจน์ ซึ่งในที่นี้ใช้กับประธาน Trois personnes = les personnes = Elles เป็นประธานบุรุษที่ 3 เพศหญิง พหูพจน์ เพราะคำว่า les personnes เป็นเพศหญิง พหูพจน์ คือ มีมากกว่า 1  จึงต้องใช้  sont และผัน V. décéder ให้สอดคล้องกับประธาน คือ เพศหญิง เติม e พหูพจน์เติม s เข้าไปต่อ e => es => décédées
ข้อควรจำ  V. décéder เดเซเด้ = V. mourir หมายถึง ตาย ต้องผันคู่กับ v.être เสมอ สำหรับกาลผสมต่างๆ
พยายามออกเสียงให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้น จะเกิดความสับสนกับ V.décider เดซิเด้ ที่แปลว่า ตัดสินใจ
V.être gravement blessées มาจาก V.être blessé (e), (es) หมายถึง ได้รับบาดเจ็บ (มีคนมาทำให้เราได้รับบาดเจ็บ) ในที่นี้มีการนำ gravement มาเติม เพื่อเน้นและขยายความว่า หนักมาก บาดเจ็บหนักมาก
V. blesser เบลสเซ่ หมายถึง บาดเจ็บ ถ้าทำเป็น p.p. ต้องมีการทำ accord ให้สอดคล้องกับประธานของประโยคด้วย ในที่นี้ประธานคือ 8 autres  (autres personnes)
les victims เล วิคทิม หมายถึง เหยื่อ ผู้เคราะห์ร้าย เป็นคำนามเพศหญิง คำนี้เหมือนคำในภาษาอังกฤษ คือ victim

Le tireur a touché mortellement trois personnes mardi soir à Strasbourg. L'une des victimes est un Strasbourgeois né en 1957. Il est mort dans le quartier de la petite France. Selon nos confrères du Parisien, il s’agit d’un client du restaurant la Stub, rue du Saumon, qui était « venu pour boire l’apéro » avec sa femme et leur fils, a confié à franceinfo Jonathan, serveur dans l’établissement. Son client, « un homme marié […] a payé. Sa femme [et son fils sont] allés aux toilettes, et lui est sorti. [Le tireur] est arrivé et lui a tiré dessus », avant de partir en direction d’une rue adjacente. Ce retraité du Crédit agricole est mort avant l’arrivée des secours, «15 minutes après» avoir été touché.

มือปืน/ คนร้ายได้ยิงคนตาย 3 คน เมื่อค่ำวันอังคารที่เมืองสตราสบูร์ก หนึ่งในเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายเป็นคนสตาสบูร์ก เกิดปี ค.ศ. 1957 และได้เสียชีวิตในย่าน Petite France เขาเป็นลูกค้าร้านอาหาร ชือ La Stub บนถนน Saumon มาเพื่อดื่มเครื่องดื่มเรียกนำ้ย่อยกับภรรยาและลูกชาย โดย Jonathan พนักงานเสริฟเล่าว่าลูกค้าผู้ชายเผ็นคนจ่ายเงิน ส่วนภรรยากับลูกๆ ไปเข้าห้องน้ำ ส่วนตัวผู้ชายนั้นเดินออกไปนอกร้าน และคนร้านมาถึงและยิงใส่ผู้ชายคนนั้น ก่อนที่คนร้ายจะวิ่งไปทางถนนที่ติดกัน และชายเกษียณวัยผู้นี้ได้เสียชีวิจก่อนที่ทีมช่วยเหลือจะมา

V.avoir touché mortellement trois personnes หมายถึง ฆ่าคนตาย 3 คน
คำว่า mortellement มาจาก mortel หรือ deadly ในภาษาอังกฤษ จำง่าย ๆ คือ มาจากคำว่า mort ก็เดาได้ว่าเกี่ยวกับความตาย
un Strasbourgeois คนสตาสบูร์ก  มาจากชื่อเมือง คือ Strasbourg แต่เติม e เข้าไป เพื่อให้ออกเสียงเป็น ช ได้ คือ สตาสบูรกชัว
dans le quartier ดอง เลอ คารเทียร หมายถึง ในย่าน
ce retraité เซอ เครอเทรทเต้ หมายถึง คนเกษียณวัยผู้นี้
avant l'arrivée de อาว๊อง ลารืฟเว่ เดอ หมายถึง ก่อนการมาถึง

L'autre victime est un Thaïlandais né en 1973. Cet homme de 45 ans, a reçu une balle dans la tête rue des Moulins (dans le quartier de la petite France) alors qu’il se rendait au très fréquenté marché de Noël avec sa femme. Selon le site Siam actu, le couple venait d'arriver la veille à Strasbourg.

เหยื่ออีกรายเป็นคนไทย เกิดเมื่อปี 1973 อายุ 45 ปี ถูกยิงจ่อที่ศีรษะบนถนน Moulins ย่าน Petite France  เหยื่อกำลังเดินชมตลาดคริสตร์มาสกับภรรยา จากข้อมูลของเว็บ Siam Actu กล่าวว่าทั้งคู่เพิ่งมาถึงเมืองสตาสบูร์กก่อนวันเกิดเหตุเพียง 1 วัน

-l'autre victime โลทเทรอ วิคทิม หมายถึง เหยื่ออีกราย
-V. avoir reçu une balle dans la tête หมายถึง โดนยิงที่ศีรษะ (ถ้าแปลตรงตัว คือ ได้รับกระสุนที่หัว)
-le couple เลอ คูบเพลอะ หมายถึง คู่ คู่สามีภรรยา
-venait เวอเน่ มาจาก v.venir ในกาล l'imparfait
-la veille ลา เวย วานซืน วันก่อน หรือ  the previous day ในภาษาอังกฤษ

Un journaliste italien serait dans le coma, information confirmée par le ministère des Affaires étrangères et non en mort cérébrale comme affirmé dans un premier temps. Ce journaliste de 28 ans était à Strasbourg pour couvrir l'actualité du Parlement européen.

นักข่าวชาวอิตาลี่อาการโคม่า ได้รับข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสว่า สมองตาย นักข่าวคนนี้มีอายุ 28 ปี และอยู่ที่เมืองสตาสบูร์กเพื่อทำข่าวสภาสหภาพยุโรป

-un journaliste อัง ชูรคนาลิสเทอะ หมายถึง นักข่าว (สามารถเดาคำได้ว่ามาจาก journal)
-V.être dans le coma  โคม่า หรือ อยู่ในภาวะโคม่า
-le ministère des Affaires étrangères เลอ มินิสแตร เด ซัฟแฟร เซทรองแชร คือ กระทรวงการต่างประเทศ
-en mort cérébrale สมองตาย หรือ brain death ในภาษาอังกฤษ คำว่า cérébrale  หมายถึง สมอง คำนี้เดาง่ายเพราะเขียนคล้ายกับคำในภาษาอังกฤษ คือ cerebral พิเศษตรงที่ภาษาฝรั่งเศสจับใส่ é ให้แค่นั้น
-Parlement européen พารเลอม๊อง อูโครเพอัง สภาผู้แทนสหภาพยุโรป

Prenez soin de vous et veillez à votre sécurité.   
Take care and stay safe นะคะ


เหตุการณ์ไม่สงบที่เมือง Strasbourg


จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญเมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา มาดามขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กราดยิงที่ตลาดคริสตร์มาส ณ เมืองสตราสบูร์ก

จากเหตุการณ์ดังกล่าว มาดามขอแปะ เบอร์โทรฉุกเฉินของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ไว้ให้สาว ๆ ได้จด และเมมเบอร์ไว้เลยนะคะ เป็นเบอร์ที่สำคัญมากสำหรับคนไทยในฝรั่งเศส รวมถึงคนไทยที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวที่ฝรั่งเศสค่ะ

กรณีต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ที่หมายเลขฉุกเฉิน +33 6 46 71 96 94 และ + 33 6 03 59 97 05 หรือสอบถามข้อมูลทั่วไปที่ thaiconsular.paris@hotmail.com
และฝากข่าวจากสถานทูตไทยเรื่องสถานการณ์ความไม่สงบในวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2018 ที่ผ่านมาค่ะ

ตามที่เมื่อคืนวันที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลาประมาณ 20.00 น. ได้เกิดเหตุกราดยิงที่บริเวณตลาดคริสต์มาส เมืองสตราสบูร์ก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 3 ราย และบาดเจ็บจำนวน 12 ราย โดยมีบุคคลสัญชาติไทยเสียชีวิต 1 รายในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย นั้น
สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียซึ่งขณะนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประสานงานกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และขอขอบคุณเครือข่ายชุมชนไทยในเมืองสตาร์สบูร์ก สมาคมนักเรียนไทยในฝรั่งเศส และสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมัน ที่ช่วยประสานงานและให้ความช่วยเหลือชาวไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอประณามอย่างรุนแรงต่อผู้ก่อเหตุครั้งนี้ซึ่งส่งผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยล่าสุด รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศยกระดับเตือนภัยก่อการร้ายสู่ขั้น ‘attack emergency’ ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดจากทั้งหมด 3 ขั้น โดยจะเพิ่มมาตรการป้องกันชายแดนและรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตามตลาดคริสต์มาสทั่วฝรั่งเศส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโจมตีลอกเลียนแบบ
ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอเตือนให้คนไทยในฝรั่งเศสและนักท่องเที่ยวชาวไทย โปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ทางการฝรั่งเศสอย่างเคร่งครัด
กรณีต้องการความช่วยเหลือ โปรดติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่หมายเลขฉุกเฉิน +33 6 46 71 96 94 และ + 33 6 03 59 97 05 หรือสอบถามข้อมูลทั่วไปที่ thaiconsular.paris@hotmail.com

ข้อมูลจาก http://www.thaiembassy.fr/2018/12/12/2406/


ท้ายนี้ ขอให้ทุกคนระมัดระวังตัว หูตาต้องไว และดูแลตัวเองให้ดี ๆ นะคะ เพราะโลกเราทุกวันนี้อยู่ยาก 
ด้วยความห่วงใยจากมาดาม

Sunday, January 21, 2018

มาทำความรู้จัก TCF ANF กัน

สวัสดีค่ะ หลังจากที่มาดามทิ้งร้างบ้านนี้ไปนาน ต้องขอโทษด้วยนะคะ เพราะมาดามไปทำงาน พอกลับมาถึงบ้าน ก็เหนื่อย เมื่อยล้า ไม่มีแรงทำอะไรแล้วค่ะ แถมไม่ค่อยมีเรื่องให้มาอัพผ่านบล็อกนี้เท่าไหร่ เพราะได้บัตร 10 ปีมาครอบครอง เลยลอยตัวค่ะ 555
เอาเป็นว่า objectif ของเรายังคงเดิม คือ พิชิตข้อสอบเพื่อขอสัญชาติฝรั่งเศส  ขนาดมาดามซื้อหนังสือเตรียมสอบมาแล้ว เปิดไปดูครั้งนึง ก็ไม่ได้เปิดอีกเลย มาเปิดอีกทีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพราะหอบไปให้ครูสอนเลย (มาดามมีวันหยุดทำงานระหว่างสัปดาห์ คือ ทุกวันพฤหัส เลยยังมีโอกาสเรียนภาษาต่อ อีกนิด) เล่นเอาปวดหัวค่ะ 555 คาดว่ามาดามอาจจะไปเลือกสอบ TCF ANF แทนไปสอบ DELF B1 หรือ B2 แล้ว ท่าทางน่าจะง่ายกว่ากันเยอะ

TCF ANF คืออะไร
TCF ANF หรือ le TCF pour l'accès à la nationalité française คือ การสอบวัดระดับภาษาเพื่อใช้ขอสัญชาติฝรั่งเศส
คำว่า TCF ย่อมาจาก Test de connaissance du français หรือ การสอบวัดระดับความรู้ภาษาฝรั่งเศส

TCF ANF เกี่ยวอะไรกับสะใภ้ฝรั่งเศส
TCF ANF เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะใภ้ฯ สามารถเลือกไปสอบวัดระดับภาษาฝรั่งเศสได้ เพื่อให้ได้ใบรับรองว่ามีความรู้ภาษาฝรั่งเศสตามที่กระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสกำหนด คือ B1 ในด้านการฟังและพูด (ถ้าไม่สอบ TCF ANF สะใภ้ฯ ก็ต้องไปสอบ DELF B1)

ทำไม TCF ANF ง่ายกว่า DELF B1
เพราะมีแค่ 2 ส่วน แต่ DELF B1 และ B2 มีข้อสอบ 4 ส่วน
ที่ว่า TCF ANF มีข้อสอบ 2 ส่วน คือ อะไร
  1. ข้อสอบวัดความเข้าใจในการฟัง พูด หรือ compréhension orale มีคำถาม 29 ข้อ ให้เวลาทำข้อสอบ 30 นาที โดยจะนั่งทำในห้องสอบ รวมกับผู้เข้าสอบคนอื่น อาจจะทำข้อสอบในกระดาษข้อสอบ หรือในคอมพิวเตอร์ แล้วแต่สถานที่สอบ
  2. สอบปากเปล่า หรือ expression orale มี 3 หัวข้อที่ต้องพูดต่อหน้าเจ้าหน้าที่คุมสอบ หรือคนสัมภาษณ์ (เรียกเล่น ๆ ว่า สอบห้องเย็น) 
ใบรับรองผลการสอบ TCF ANF มีอายุใช้แค่ 2 ปีเท่านั้น ไม่ใช่ว่าสอบผ่านแล้วสามารถเก็บไว้ใช้ได้ตลอดชีพนะคะ จริง ๆ แล้ว มันเหมือนการสอบ TOEIC ที่ใช้ได้แค่ 2 ปี

การสอบผ่าน TCF ANF หรือจะสอบผ่าน DELF B1/ B2 ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะขอสัญชาติฝรั่งเศสได้ทุกคนค่ะ เพราะเจ้าหน้าที่ Préfecture ยังต้องพิจารณราคุณสมบัติอื่น ๆ ประกอบด้วยอีกหลายข้อ
แต่การขอสัญชาติฝรั่งเศศ หากไม่มีใบรับรองว่าสอบผ่าน TCF ANF หรือ DELF B1/ B2 ก็เท่ากับว่าสะใภ้ยื่นเอกสารไม่ครบค่ะ และขาดคุณสมบัติเรื่องภาษาฝรั่งเศส





 สำหรับการเตรียมความพร้อมในการสอบ TCF ANF สามารถเข้าไปฝึกทำข้อสอบได้ที่
http://savoirs.rfi.fr/fr/apprendre-enseigner/langue-francaise/tcf-test-de-connaissance-du-francais
และ http://apprendre.tv5monde.com/fr/apprendre-francais/accueil-tcf