เข้าเรื่อง วันนี้มาดามจะมาพูดเรื่อง Les sujets หรือประธาน ซึ่งสำคัญมากต่อการเขียนประโยคต่าง ๆ ในภาษาฝรั่งเศส
ประธาน คือ บุุคคลผู้กระทำ หรือ สัตว์ สิ่งของ เป็นผู้กระทำกริยาในประโยค
จริง ๆ แล้วประธานในภาษาฝรั่งเศสมีหลากหลาย แต่ที่เห็นใช้กันบ่อย ใช้กันทุกวัน นี่ก็ต้อง Les pronoms personnels sujets เลย บ้านเราก็เรียกว่า ประธานสรรพนามบุคคล ซึ่งมาดามขอพูดเรื่องนี้ก่อน เพราะง่ายสุด และใช้บ่อยสุด แถมงงน้อยที่สุด
สรรพนามบุคคลเป็นประธานในประโยค หรือ Les pronoms
personnels sujets
Je
|
I
|
ฉัน
ผู้พูดเอง
|
1er personne singulier
|
สรรพนามบุคคลที่ 1 เอกพจน์
|
Tu
|
You
|
เธอ
ใช้กับเพื่อน
คนที่อายุใกล้กัน หรือเด็กกว่า
ผู้ที่พูดด้วย
|
2e personne singulier
|
สรรพนามบุคคลที่ 2 เอกพจน์
|
Il
|
He
|
เขาผู้ชาย
ผู้ที่เราพูดถึง
|
3e personne singulier
|
สรรพนามบุคคลที่ 3 เอกพจน์
|
Elle
|
She
|
เขาผู้หญิง
ผู้ที่เราพูดถึง
|
3e personne singulier
|
สรรพนามบุคคลที่ 3 เอกพจน์
|
On
|
We
|
เรา
|
3e personne singulier
|
สรรพนามบุคคลที่ 3 เอกพจน์
|
Nous
|
We
|
เรา
ผู้พูดและผู้ที่พูดด้วย
|
2e personne pluriel
|
สรรพนามบุคคลที่ 2 พหูพจน์
|
Vous
|
You
|
คุณ
ใช้กับคนที่อายุมากกว่า
ใช้เรียกแบบสุภาพ
ผู้ที่พูดด้วย
|
2e personne singulier et
pluriel
|
สรรพนามบุคคลที่ 2 เอกพจน์และพหูพจน์
|
Ils
|
They
|
เขาผู้ชายทั้งหลาย
ผู้ที่เราพูดถึง
|
3e personne pluriel
|
สรรพนามบุคคลที่ 3 พหูพจน์
|
Elles
|
They
|
เขาผู้หญิงทั้งหลาย
ผู้ที่เราพูดถึง
|
3e personne pluriel
|
สรรพนามบุคคลที่ 3 พหูพจน์
|
หมายเหตุ 1. ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ Tu และ
Vous คือ Tu เป็นการเรียกเพื่อน หรือ คนที่อายุน้อยกว่า ส่วน Vous
จะใช้ในการเรียกแบบทางการ สุภาพ และคนที่มีอายุมากกว่า
จะเห็นได้ว่ามีการแบ่งแยกความอาวุโสในภาษาฝรั่งเศส
2. On
เป็นการใช้กล่าวแบบทั่วๆ ไป หมายถึง คนเราทั่ว ๆ ไป หรือ กลุ่มคนที่ไม่ได้ระบุเพศ
จำนวนอย่างชัดเจน ในกรณีนี้ On สามารถแทนด้วย Tout le monde หมายถึง ทุกคน หรือใช้แทน L’homme , les gens ผู้คน
เช่น
-Quand on est enrhumé, on est fatigué.
-On pense que la terre est ronde. มนุษย์เราเชื่อว่าโลกกลม
นอกจากนี้ On ยังใช้แทน Nous ที่หมายถึง เรา เพียงแค่การใช้ On
จะต้องใช้กริยาเอกพจน์สำหรับ สรรพนาม บุรุษที่ 3 เช่น
-Mon mari et moi, on est enrhumés. สามีของฉันและตัวฉันเอง เราเป็นหวัด
(enrhumés เติม s เพราะในประโยคนี้ on แทนด้วย Mon mari et moi ซึ่งเป็น Nous แต่
On ต้องใช้กับกริยาที่ผันกับสรรพนามบุคคลบุรุษที่ 3 เท่านั้น)
-On ira au cinéma = Nous irons au cinéma.(เราจะไปดูหนัง)
แต่ต้องระวังการใช้ใน les temps composés สำหรับกรณีที่ On ใช้แทน Nous คือ
ต้องทำการ accord กับเมื่อใช้ V.être+participe passé (p.p.) จะต้องเติม s ให้
p.p. ด้วย เพราะเป็นพหูพจน์ เช่น On est
allés au cinéma = Nous sommes allés au cinéma.
3. ถ้าในประโยคมีผู้ชายแค่หนึ่งคน
นอกนั้นเป็นผู้หญิง จะต้องใช้ Ils เนื่องจากภาษาฝรั่งเศสใช้หลักผู้ชายเป็นใหญ่
เช่น
Annie, Mary, Jane
et Tom aiment manger du chocholat.
Annie, Mary, Jane เป็นผู้หญิง
Tom เป็นผู้ชาย
ใช้ Ils >>
Ils aiment manger du chocolat.
แต่ถ้าไม่มี Tom จะเป็นหญิงล้วน
ใช้ Elles แทน
4. Je ถ้าอยู่หน้ากริยาที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ
ต้องลดรูปเป็น J’ เช่น J’ai (V. avoir), J’habite (V. habiter) ตามหลักสระชนสระ
ต้องลดรูป
ยกเว้น Tu จะไม่ลดรูปในการเขียน แต่ในภาษาพูดสามารถลดรูปได้ เช่น T’as faim.
5. Vous สามารถใช้เป็นสรรพนามบุคคลที่ 2 เอกพจน์และพหูพจน์ได้ คือ ใช้เรียก
“คุณ” แบบทางการ สุภาพ หรือเรียกผู้ที่อาวุโสกว่า อาจจะเรียกคนเดียว (เอกพจน์) หรือมากกว่า
1 คน กลุ่มคน (พหูพจน์) เช่น
-Madame, êtes-vous satisfaite de nos services? ไม่ทราบว่าคุณพอใจในบริการของเราหรือไม่
Vous ในที่นี้ เป็นเอกพจน์ ดูจาก Madame และเป็นการเรียกแบบสุภาพ
-Vous êtes nos voisins. คุณเป็นเพื่อนบ้านของเรา (พหูพจน์ ดูจาก voisins)
-Vous êtes prêts? คุณพร้อมไหม? (พหูพจน์ ดูจาก prêts)
เราจะหาประธานในประโยคด้วยการ ถามว่า ใครเป็นผู้กระทำ ใครทำ Qui est-ce qui + verbe? หรือสิ่งไหนทำ Qu’est-ce qui + verbe?
Madame B mange du riz. มาดามบีทานข้าว
Qui est-ce qui mange du riz? ใครทานข้าว
คำตอบ คือ Madame B
ดังนั้น Madame B คือ ผู้กระทำกริยาทานข้าว mange ที่มาจาก V. manger ผันตามประธานบุรุษที่ 3 ซึ่งเป็นประธานในประโยค
ข้อควรรู้ 1) เวลาเขียนขึ้นต้นประโยคทุกครั้งต้องเขียนตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่เสมอ
2) ตำแหน่งการวางประธานในประโยค
ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตำแหน่งหน้าประโยค และอยู่หน้ากริยา
แต่ในบางประโยคประธานไม่ได้วางไว้หน้ากริยา (วางหลังกริยา) เช่น
– ประโยคคำถาม เช่น Où vas-tu?
–ประโยคคำพูด หรือ La proposition
incise (เทียบเท่า direct speech ในภาษาอังกฤษ) พบมากเวลาอ่านนิยาย
และมักจะใช้กับกริยาที่แปลว่า พูด V. dire, ตอบ V. répondre หรือ V. répliquer,
พึมพำ V. murmurer กระซิบ V. chochoter, ร้องขอ V. demander หรือ V. implorer,
ตะโกน V. crier เช่น Je ne suis pas d’accord, annonça Jean.
ในภาษาฝรั่งเศสามารถใช้คำเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค (จริง ๆ มีเยอะกว่านี้ แต่ขอยกตัวอย่างแค่ 3 แบบ) เช่น
1.1
คำนาม หรือ กลุ่มคำนาม (un nom ou un groupe nominal)
-คำนามอาจเป็นชื่อเรียกเฉพาะ (บุคคล สถานที่) เช่น Jean, Vincent, Marie
-คำนาม (อย่าลืมว่าในภาษาฝรั่งเศสคำนามต้องมี l’article นำหน้าเสมอ) เช่น Les
enfants, Les oiseaux, Les hommes
-กลุ่มคำนาม หรือ un groupe nominal เรียกย่อ ๆ ว่า GN คือ
กลุ่มคำที่ประกอบด้วยคำนำหน้าคำนาม les articles คำนาม
และมีคำคุณศัพท์ขยายคำนามด้วย เช่น Les beaux jours, Les belles femmes, Les
animuax sauvages
1.2
Qui เป็น le pronom relatif ที่ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคหลัง เทียบเท่า
who, which, that ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ผู้ที่ ที่ซี่ง Qui จะต้องผันตาม คำนามที่อยู่หน้าเสมอ
Mon amie qui habite à Bangkok.
La personne qui accueil les clients est absente.
1.3
Infinitif หรือ กริยาที่ไม่กระจาย เมื่อขึ้นต้นประโยคจะทำหน้าที่เสมือนคำนาม
เช่น
Fumer peut nuire à votre santé. การสูบบุหรี่สามารถเป็นอันตรายแก่สุขภาพของคุณ
Partir en vacances plaît toujours. การไปเที่ยวในวันหยุดทำให้มีความสุขเสมอ
Bon courage à tous!
สักวันเราจะก้าวผ่านอุปสรรคด้านภาษาฝรั่งเศสไปได้ ถ้าเราตั้งใจ มีความมุ่งมั่น และหมั่นฝึกฝน ข้อสำคัญ อย่าคิดว่ามันยาก มันเป็นแค่ความท้าทาย ที่เราสามารถเอาชนะมันได้
No comments:
Post a Comment