Monday, August 28, 2017

7 เมนูอาหารไทยที่ติดอันดับเมนูที่อร่อยที่สุดในโลก (7 อันดับใน 50 อันดับอาหารที่ดีที่สุดในโลก)

ค่ำนี้มาดามเอาเมนูอาหารมาฝากคร้า เนื่องจากคุณสามีส่งลิงค์มาให้อ่าน มาดามเลยขอแชร์ต่อให้สาว ๆ นะคะ เป็นอาหารไทยที่ได้รับการจัดอันดับว่าอร่อย หรือ ดีที่สุดในโลกค่ะ จากการโหวดของผู้คนในเพจของ CNN ของไทยเราติดอันดับถึง 7 เมนูเลยค่ะ น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง
สาว ๆ ก็สามารถนำเสนอเมนูอาหารไทยของเราให้ครอบครัว ให้สามีกิน
Il est dans les cinquante meilleures plats du monde!

Sept plats thaïlandais au classement des 50 meilleures nourritures mondiales อาหารไทย 7 เมนูที่ติดอันดับเมนูที่อร่อยที่สุดในโลก (7 อันดับใน 50 อันดับอาหารที่ดีที่สุดในโลก)


สมมติว่า สาว ๆ ทำส้มตำให้สามีชิม ก็บอกว่า
Som Tam ou Salade de papaye est le sixième au classement des 50 meilleures nourritures mondiales. ส้มตำอยู่ในอันดับ 6 ใน 50 ของอาหารที่ดี/ อร่อยที่สุดในโลก

le quatrième อันดับที่ 4
le cinquième อันดับที่ 5
le sixième อันดับที่ 6
le huitième อันดับที่ 8
le dixième อันดับที่ 10
le dix-neuvième อันดับที่ 19
le vingt-quatrième อันดับที่ 24
le trente-sixième อันดับที่ 36
le quarante-sixième อันดับที่ 46

อ่านบทความภาษาฝรั่งเศสได้ที่ http://vivre-en-thailande.com/7-plats-thais-classement-50-meilleures-nourritures-mondiales/21412/
อ่านบทความของ CNN ได้ที่ http://edition.cnn.com/travel/article/world-best-foods-readers-choice/index.html

Friday, August 25, 2017

Le plaisir d'écrire 2016: Vivre ensemble

สำหรับงานเขียนเรียงความส่งประกวดในโครงการ le plaisir d'écrire ปี 2016 เมื่อปีที่แล้ว ในธีม หรือ หัวข้อ Vivre ensemble หรือ การอยู่ร่วมกัน นั้น มาดามได้เขียนเรื่อง Vivre ensemble : un couple franco-thaï ซึ่งเป็นหการเขียนเล่าเรื่องราวของมาดามเอง ประกอบกับเรื่องราวที่ได้ยินมาจากที่ต่าง ๆ และมาดามเน้นเรื่องการอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะอยู่แบบครอบครัวสามีภรรยาในแบบสะใภ้ฝรั่งเศส อยู่ร่วมกันในสังคมต่างแดน ในประเทศฝรั่งเศส อีกทั้งนำเสนอแนวคิดการใช้ชีวิตร่วมกันแบบพอเพียงตามที่พ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ได้ทรงดำรัสไว้ ประกอบกับการอยู่แบบทางสายกลางตามศาสนาพุทธ


Vivre ensemble : un couple franco-thaï

Avant de former un couple franco-thaï, j'étais célibataire et habitais dans mon pays, la Thaïlande. Je n'étais pas toute seule parce que je vivais avec ma famille. Dans mon pays, les élèves apprennent comment vivre en harmonie, en partageant des activités dans la classe ou en plein air. Cela n'a pas toujours été facile, chacun ayant son caractère.
Je suis mariée avec un Français, ma famille est multiculturelle entre l'occident et l'orient, entre Français et Thaïlandais et entre chrétien et bouddhiste. J'ai choisi de déménager en France pour vivre avec mon mari. Je n'ai pas subi le choc culturel. Grâce à ma profession en Thaïlande, je communiquais beaucoup avec d'autres personnes à travers le monde. Nous vivons ensemble bien que nous ayons une culture différente. Mon seul problème, c'est de bien parler français !
Quand j'habitais à Bangkok, je ne faisais pas la cuisine. C'est bien plus pratique et facile d'acheter la nourriture sur les marchés et dans les restaurants. Tous les Thaïlandais préfèrent manger "la thaï food". Ici, en France, nous ne pouvons pas dîner tous les soirs au restaurant, c'est trop cher ! J'ai donc changé mon comportement pour vivre heureusement en France. Grâce à internet, je peux chercher beaucoup de recettes thaïes. J'adore faire la cuisine thaïe que mon mari apprécie beaucoup. Nous partageons les mêmes repas.  Il n'est pas nécessaire de cuisiner deux fois, une fois pour moi et une fois pour mon mari ! Nous ne mangeons pas séparément. La vie du partage est magnifique. Et pourtant, il y a des couples dont les maris ne mangent pas les plats thaïs à cause de l'odeur et du goût, leur jeune femme thaïlandaise mange toute seule, souvent avant que leur mari rentre. Vivre ensemble pour un couple interculturel n'est-ce pas comprendre et respecter?
Notre roi, le roi Bhumibol Adulyadej, nous enseigne comment vivre en pratiquant une éconolie suffisante. L'argent n'est pas le facteur qui mesure le bonheur. Certaines personnes rêvent de vivre dans le luxe en France; elles ne connaissent pas la réalité de la vie d'un Français dans son pays. Je ne demande pas à mon mari de vivre dans le luxe, avoir des bijoux, une grande maison, beaucoup d'argent ... Je comprends notre situation, nous devons économiser, c'est la vie de la classe moyenne en France.
Un moine thaï m'a enseigné que si on désire une chose, celle-ci ne se réalise pas et on est insatisfait. Au contraire, quand on ne la veut pas, on l'obtient. C'est le désir de posséder qui apporte la souffrance. Etant, bouddhiste, je mets en pratique les trois caractéristiques de l'existence comme l'impermanence, la souffrance et l'absence de soi. Il n'y a pas de choses plus permanents que notre corps. En appliquant ce principe, on ne se disputera pas, ni poussera son mari à être dispendieux. Pour moi, c'est un moyen de "vivre ensemble" en France et d'accepter la différence.
Il y a toujours des problèmes du "vivre ensemble" dans la société. Il y a beaucoup de conflits et de violences, surtout des conflits interreligieux. Je crois que toutes les religions enseignent aux peuples comment créer les bons karmas et ne pas tuer les autres personnes.  Bouddha nous enseigne comment faire les bons karmas et comment vivre ensemble, dans l'harmonie. Ce sont les quatre vertus d'intégrité : la charité (offrir les choses), le discours sur la bienveillance (parler avec indulgence et compréhension), l'altruisme (aider les autres) et l'égalité (respecter et ne pas préjuger).
On peut comparer une vie de couple à un élastique, elle est flexible. Je choisis "la Voie Médiane" sur laquelle nous marchons ensemble. Le mariage, ce sont deux personnes qui vivent ensemble, ce n'est plus être tout seul. Grâce mon mari qui me comprend toujours, nous formons un couple comblé et heureux.
Dans la société, il n'y a pas seulement un individu ou deux personnes mais pleins d'individus qui vivent ensemble. Pour vivre ensemble, nous devons nous respecter, être solidaires et avoir l'esprit de corps. Un monde de paix est meilleur qu'un monde de guerre.
สามารถคลิกอ่านเรียงความของผู้เขียนคนอื่น ๆ ได้ตามลิงค์ค่ะ
http://crapt-carrli.gip-fcip-alsace.fr/images/plaisir_ecrire/ae_2016/plaisirdecrire_2016.pdf

Tuesday, August 22, 2017

เรียนคำศัพท์: Vacance VS Vacances

ใกล้เปิดเทอมแล้วนะคะ ช่วงนี้เราจะได้ยินคำว่า la rentrée scolaire บ่อยขึ้น วันนี้ขอสวนกระแสด้วยการหยิบยกคำว่า les vacances เล วาก๊องซ วันหยุดพักผ่อน และคำศัพท์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คำว่า วันหยุดพักผ่อน ในภาษาฝรั่งเศส ต้องมี S เสมอค่ะ คือ อยู่ในรูปพหูพจน์เสมอ ถ้าเขียนแบบไม่มี s จะมีความหมายที่เปลี่ยนไป คือ une vacance หมายถึง ว่าง 

นอกจากนี้ คำว่า vacances สามารถทำให้เป็นคำนามอื่นได้อีก คือ un vacancier และ une vacancière หมายถึง คนที่ลาพักผ่อน และมีความหมายกลาย ๆ คล้ายคำว่า นักท่องเที่ยว หรือ des touristes ค่ะ
มี 1 คำที่น่าสนใจ เผื่อมีคนคุ้นตานะคะ คำว่า "estivant (e)" หมายถึง นักท่องเที่ยว คนลาหยุดพักผ่อน เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า un vacancier/ une vacancière ค่ะ  ที่ว่าคุ้นตา เพราะคำว่า estival เกี่ยวกับหน้าร้อน ที่มาดามเคยโพสไปไงค่ะ ก็วันหยุดพักผ่อนก็มีในฤดูร้อน จาห estival ก็กลายมาเป็น estivant (e) ไงค่ะ
ศัพท์และสำนวนเกี่ยวกับคำว่า les vacances

รู้จักคำว่าวันหยุดพักผ่อน วันหยุดปิดเทอมกันไปแล้ว ช่วงนี้ถึงคิววันเปิดเทอมแล้วค่ะ ซึ่งก็ใกล้เปิดเทอมแล้วจริง ๆ สาว ๆ หลายคนคงวุ่นวายหาซื้อเครื่องเขียนให้คุณลูก ๆ แน่เลย 
คำว่า วันเปิดเทอม ในภาษาฝรั่งเศส เรียกว่า la rentrée หรือ เรียกเต็ม ๆ ว่า la rentrée scolaire หรือจะเรียกว่า la rentrée des classes ก็ได้ค่ะ  แน่นอน คำว่า la rentrée มาจากกริยา V.rentrer นั่นเอง
เน้นว่าปิดเทอมเป็นพหูพจน์เสมอ คือ ต้องมี S ตลอด แต่เปิดเทอมนี่เอกพจน์ ไม่ต้องเติม S ให้นะคะ


หากสาว ๆ คนไหนสนใจฝึกฟังภาษาฝรั่งเศส ลองคลิกไปที่ http://mediateur.radiofrance.fr/videos/vacances-sens-mots/   
คลิปนี้จะอธิบายความแตกต่างระหว่าง vacance เอกพจน์ และ vacances พหูพจน์ไว้ให้ น่าสนใจมากค่ะ

ส่วนคนที่อยากเพิ่มพูนและสะสมคำศัพท์ที่เกี่ยวกับ les vacances  มาดามขอแปะลิงค์ให้ https://www.professeurphifix.net/vocabulaire_impression/Vocabulaire_vacances.pdf



Tuesday, August 15, 2017

งานเขียนภายใต้โครงการ Plaisir d'écrire 2017

วันนี้มาดามขอเอาผลงานเขียนปีนี้ 2017 ที่ส่งเข้าประกวดมาให้ดูค่ะ
ตั้งแต่มาอยู่ฝรั่งเศส และเรียนภาษากับสมาคม Trampoline, Molsheim ก็เขียนเรียงความส่งเข้าแข่งขันกับโครงการ Plaisir d'écrire ทุกปึค่ะ เขียนมา 3 ปี แล้ว
ปีนี้อยู่ในธีม Réseaux หรือ เครือข่าย มาดามเล่นคำว่าเครือข่ายกับคำว่า le lien เชื่อมโยง และ V.lier ; V. être jumelé avec เชื่อมโยงเป็นญาติพี่น้อง (เหมือนเมืองพี่ เมืองน้อง)
และต้องขอขอบคุณประธานอุ้ม แห่งบ้านสะใภ้ฝรั่งเศสที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของบ้านหลังใหญ่ของเราค่ะ 


Réseaux qui lient les Thaïlandais
Aujourd’hui, les réseaux sociaux sont très utiles pour les hommes. Effectivement, nous surfons sur internet pour trouver des informations. Moi, je suis une personne qui utilise internet, particulièrement les réseaux sociaux, pour communiquer avec mes amis, chercher et partager divers renseignements, précisions, nouvelles et conseils. 
C'est grâce à internet que,  mon mari et moi, nous nous sommes rencontrés. Cela devait être notre destin! Il y a de l'alchimie entre nous et nous avons décidé de nous marier. Notre première question : "comment une Thaïlandaise et un français peuvent-ils se marier?". Nous avons cherché sur internet toutes les informations concernant le couple franco-thaï vivant en France. Et j'ai trouvé un site très intéressant, "Baan Sapai Farangses", c'est-à-dire "La Maison des épouses des Français"!
"Baan Sapai Farangses, communauté thaïlandaise en ligne, permet de communiquer entre membres et de partager toutes les informations primordiales, pour nous les Thaïlandais qui vivons ou allons vivre en France. C'est comme un foyer pour les Thaïlandais, c'est notre grande maison où plus de 13 milles membres se réunissent. 
Loin de leur pays, les femmes thaïlandaises sont nostalgiques, et "si on se connecte vers cette maison", on trouve de nouveaux amis et même, parfois les rencontrer dans le quartier où l'on habite. On y trouve de bons conseils, surtout pour la vie quotidienne comme "où peut-on acheter un mortier et un pilon?", "où trouver des papayes vertes ou des mangues vertes pas cher?", "ces champignons sont-ils comestibles?", "pour faire ce gâteau quelle farine prendre?", "où apprendre le français gratuitement ou pas cher?"...
Depuis plus d'une décennie, cette maison joue un rôle important en tissant des liens amicaux entre les Thaïlandais, peu importe où nous habitons, en France ou en Thaïlande. On s'y connecte sans frontière! La Présidente de cette communauté espère que les femmes thaïlandaises puissent y trouver un maximum d'informations, de conseils et d'astuces pour rester indépendantes et s'intégrer au mieux en France. Sans oublier les soutiens et les encouragements des membres en cas d'obstacles et de problèmes. 
Inspirée par cette communauté, j'ai créé ma page sur Facebook "Chez Madameb", il y a trois ans, avec l'intention de partager mes expériences d'intégration en France comme comprendre le processus de l'OFII, obtenir sa carte vitale, quels documents fournir pour obtenir la carte de séjour... Ces informations sont des guides utiles pour les nouvelles épouses, ayant été moi-même confrontée aux multiples complications de l'administration française!
La langue française est un grand défi pour nous, les épouses de Français! J'ai donc décidé de partager des astuces de grammaire française... Je tente de donner des explications très compréhensibles pour les débutants, et cela me^permet de réviser!
Ma page est considérée comme une petite famille, où je joue le rôle de la grande sœur !   Je fournis des "trucs" utiles à mes petites sœurs. La première année, une centaine de personnes suivaient ma page. Je la fais évoluer souvent et avec plaisir pour mes compatriotes. Maintenant, il y a plus de 1200 sœurs qui me suivent, m'attendent et me soutinnent.
Pour conclure, je suis fière de dire que "Chez Madameb" est jumelé avec "Baan Sapai Farangses" pour nos visions communes, partager les informations essentielles pour l'intégration dans la société française et d'être présentes pour nos sœurs. 


อาจดูเหมือนว่ามาดามเขียนยืดยาว เหมือนเขียนเก่ง แต่เบื้องหลัง คือ เขียนแล้วแก้ แก้แล้วแก้อีก เปลี่ยนคำให้สวยงามขึ้นโดยมีผู้ช่วยค่ะ ทั้งตัวสามีของมาดามเอง และครูที่สอน
ถึงจะไม่เคยได้รางวัลอะไร แต่ก็ได้ฝึกฝีมือ ได้ฝึกสมอง ได้ฝึกภาษา ได้ศัพท์ใหม่ ๆ
การเขียนแบบนี้ ก็เขียนไปเรื่อย ๆ ให้เนื้อเรื่องมีความสอดคล้องกัน มีทั้งบทนำ เนื้อหาที่สอดคล้องกัน และบทสรุป (เขียนเรียงความอยู่กับบ้านแบบนี้ไม่ยาก เพราะเราแก้ได้ ไม่เหมือนเวลาไปเขียนเรียงความในห้องสอบค่ะ เวลาจำกัด ไม่มีเวลาให้คิดทบทวนมาก ต้องรีบ ๆ เขียน)

ถ้าสาว ๆ คนไหน สนใจอ่านงานเขียนของคนอื่น ๆ ที่ส่งเข้าประกวด สามารถกดเข้าไปที่ http://crapt-carrli.gip-fcip-alsace.fr/images/plaisir_ecrire/ae_2017/plaisir_d_ecrire_2017.pdf

Excellent soirée à tous et à toutes ka!

Saturday, August 12, 2017

เตรียมสอบ B1: ฝึกฟังกับ TCF

สวัสดีค่ะทุกคน Bonjour à tous et à toutes!
มาดามว่า (อิอิ เลียนแบบ โม่ว่า) คงมีสาว ๆ หลายคนที่กำลังเตรียมตัวสอบภาษาฝรั่งเศส เพื่อขอสัญชาติฝรั่งเศสนะคะ เนื่องจากภาษา ไม่ได้เรียนกันแค่วันสองวันแล้วจะไปสอบผ่าน อาจจะมีบางคนที่มั่วผ่านได้ แต่หลายคนต้องการเวลาเตรียมตัว มาดามเองก็เช่นกันค่ะ มาดามซื้อหนังสือเตรียมสอบมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เปิดดูไปรอบนึง แล้วก็วางไว้ในตู้ ไม่หยิบมาอีกเลย 555
แต่วันนี้เป็นต้นไป มาดามจะพยายามฝึกฝนค่ะ เอาเป็นว่า มาดามจะมาแชร์ลิงค์ที่เราสามารถเข้าไปฝึกเพื่อเตรียมสอบ B1 ไปด้วยกันนะคะ
เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชน

ถ้าสาว ๆ คนไหนอยากฝึกเพื่อเตรียมสอบ B1 ไปพร้อมกับมาดาม มาเลยค่ะ C'est gratuit! ฟรีค่ะ ที่ฟรีก็เพราะมาดามจะไปค้นหาเว็บต่าง ๆ แล้วเอามาแชร์ให้ เราก็ทำไปได้ด้วยกัน

งั้นมาเริ่มกันเลยค่ะ
วันนี้ มาดามขอเสนอเว็บของ TCF เพื่อฝึกทำแบบฝึกหัดการฟัง หรือ compréhension orale สำหรับระดับ B1 (เบ อัง) นะคะ

ประสบการณ์ตรงของมาดามเรื่องการฟัง
ถ้าเราฟังบ่อย ๆ ก็จะคุ้นหู เคยชิน หูและประสาทของเราจะเข้าใจและจดจำคำศัพท์ที่เรารู้อยู่แล้ว ในช่วงแรกจะฟังได้เป็น คำๆ เท่านั้น เพราะข้อจำกัดเรื่องศัพท์ แต่พอเราเรียนรู้และมีศัพท์ในหัวมากขึ้น เราก็สามารถฟังและจับใจความได้
ในปีแรกที่มาอยู่ฝรั่งเศส มาดามก็ฟังไม่เข้าใจ แต่อาศัยการจับใจความและเดาว่าผู้พูดสื้ออะไรกับเรามากกว่า ยิ่งตอนที่ดูทีวี ดูข่าว ก็ไม่ค่อยเข้าใจ พออยู่มาปีที่ 3 ก็เข้าใจมากขึ้นค่ะ

ข้อแนะนำเรื่องการฟัง
พยายามเปิดทีวี หรือ วิทยุทิ้งไว้ เพื่อฝึกฟัง ถึงจะไม่ค่อยเข้าใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราจะเข้าใจมากขึ้น
สำหรับแบบฝึกหัดฟังออนไลน์ มักจะมี Transcrit หรือบทบรรยาย เราต้องเปิดฟังก่อนแบบไม่ดูบท 1 ครั้ง และครั้งต่อไปค่อยเปิดฟังพร้อมอ่านบทไปด้วย เพื่อทำให้เราเข้าใจมากขึ้น

มาฝึกฟังกันเลย http://tcf.didierfle.com/exercices/CO0301-list1.html

Thursday, August 10, 2017

เรียนภาษาจากข่าว: Radar piéton

เช้านี้มาดามดูข่าวช่อง 27 แล้วเจอข่าว Radar piéton ค่ะ ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นกฎจราจรใหม่ใช้สำหรับปรับคนที่ข้ามถนนไม่เป็นที่ แต่ไม่ใช่ค่ะ ปรากฎว่าเป็นกฏจราจรที่บังคับใช้กับรถยนต์ ที่ต้องเคารพคนที่สัญจรบนทางเท้า พูดง่าย ๆ คือ รถต้องหยุดให้คนข้ามถนน ถ้าไม่หยุดเจอหักแต้ม และจ่ายเงินค่าปรับค่ะ คือ โดนหัก 4 แต้ม และเสียเงินค่าปรับ 135€ (น่าจะมาปรับใช้ที่ไทยบ้าง เพราะขนาดไฟแดง เรายังข้ามถนนไม่ได้เลย รถที่ไทยไม่หยุดให้คนข้ามถนน)

สาว ๆ มาลองฝึกอ่านข่าวสั้น ๆ ดูนะคะ
Le premier radar piéton de France a été mis en service à la Grande-Motte, dans l'Hérault. เรด้าร์ตรวจจับสำหรับคนข้ามถนนตัวแรกในฝรั่งเศสได้ถูกติดตั้งเพื่อใช้งานที่ Grande-Motte ใน Hérault เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
L'appareil ne flashera pas les piétons mais les voitures qui ne leur cèdent pas le passage. กล้องจะไม่จับภาพคนเดินเท้า แต่จะจับรถยนต์ที่ไม่ยอมหยุดที่ทางข้าม
Ce radar fonctionne grâce à des détecteurs de mouvements. Et les images sont transmises directement à la police municipale qui détermine s'il y a infraction ou pas. เจ้าเรด้าร์นี่ทำงานได้โดยเครื่องตรวจจับการเคลื่อนไหว และภาพถ่ายต่าง ๆ จะถูกส่งไปโดยตรงให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นผู้ที่จะตัดสินว่าเป็นการฝ่าฝืนกฏจราจรหรือไม่
Le non respect du passage clouté ou le refus de la priorité au piéton lors de sa traversée sur la chaussée est puni d'une contravention de 4e classe : soit un retrait de 4 points sur le permis de conduire et une amende de 135 euros. ผู้ที่ไม่เคารพกฎจราจรเรื่องทางม้าลาย หรือปฏิเสธที่จะให้ความสำคัญกับคนเดินข้ามถนนบนทางม้าลายก่อนเป็นอันดับแรกนั้น จะต้องถูกลงโทษด้วยบทลงโทษระดับ 4 คือ ต้องโดนหัก 4 แต้มในใบอนุญาตขับขี่ และเสียค่าปรับ 135 ยูโร

ถ้าเวอร์ชั่นยาวขึ้นหน่อยที่ อ่านได้ที่ France Bleu ค่ะ https://www.francebleu.fr/infos/societe/la-grande-motte-un-radar-vut-proteger-les-pietons-1502299824 

สำหรับคำศัพท์ที่น่าสนใจ มาดามได้รวบรวมมาให้แล้วนะคะ 






ท้ายนี้ ฝากเตือนสาว ๆ ที่ขับรถ ว่าต้องหยุดให้คนข้ามถนนก่อนนะคะ อย่าติดนิสัยเหยียบโลดจากไทยมาใช้ค่ะ ไม่งั้นอาจจะโดนตัดแต้ม และเสียเงินค่าปรับ 135 ยูโรนะคะ ถ้าสาว ๆ คนไหนไม่ได้ขับเอง แต่คุณสามีเป็นคนขับ ก็ให้เขาไปอ่านข่าวนะคะ