Friday, March 27, 2015

การขอ Carte de séjour

วันนี้มาดามเข้าเมืองไปทำธุระมาค่ะ ไปยื่นขอ Carte de séjour หรือบัตรพำนักอาศัย ณ Préfecture Bas-Rhin (เทียบเท่ากับ resident card / residence permitในภาษาอังกฤษ) เนื่องจากวีซ่าที่ขอมาจากกรุงเทพฯ จะหมดในเดือนมิถุนายน 2558 และ OFII Strasbourg เคยแจ้งไว้ว่าให้ไปขอล่วงหน้า 2 เดือน

Carte de séjour คืออะไร
คำว่า séjour หมายถึง stay หรือ อาศัย ดังนั้น carte de séjour คือ บัตรพำนักอาศัย ผู้ถือบัตรนี้คือชาวต่างชาติที่มาขออาศัยในประเทศฝรั่งเศส

การขอ Carte de séjour ครั้งแรก (temporaire 1 an)
สะใภ้ใหม่ฝรั่งเศสที่มาย้ายมาอยู่ฝรั่งเศส มีวีซ่าติดตามคู่สมรสระยะยาว (1 ปี) พร้อม OFII Stamp หรือ Vignette OFII และใบรับรองหรือ Attestation ต่างๆ ของ OFII ครบ ต้องไปติดต่อขอ Carte de séjour ณ Préfecture ที่บ้านสะใภ้ฯ ขึ้นตรง บางเขตอาจติดต่อขอได้ที่ Sous-Préfecture ได้  อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนและเอกสารอาจแตกต่างกันตาม Préfecture แต่ละแห่ง  ทั้งนี้ ควรยื่นขอล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนวีซ่าหมดอายุ

เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียมสำหรับขอ Carte de séjour ครั้งแรก (ตาม website ของ Ministère de l'intérieur http://67.accueil-etrangers.gouv.fr/demande-de-titre-de-sejour/vous-etes-ressortissant-e-non/vous-etes-arrive-e-en-france-avec/votre-vls-ts-arrive-a-expiration/vous-etes-marie-e-avec-un-e/article/liste-des-pieces-a-fournir )
  1. Justificatif de séjour régulier : visa de long séjour valant titre de séjour validé par la vignette OFII, en cours de validité. สำเนาหน้าวีซ่าและหน้า OFII Stamp อย่างละ 1 ฉบับ
  2. Indications relatives à l’état civil : passeport (pages relatives à l’état civil, aux dates de validité, aux cachets d’entrée) ; un extrait d’acte de naissance avec filiation ou une copie intégrale d’acte de naissance. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ (ยังไม่หมดอายุ) และสูติบัตรฉบับแปลที่มีตราประทับรับรอง
  3.  Justificatif de domicile datant de moins de 3 mois : facture d’électricité (ou gaz, eau, téléphone fixe, accès à internet), ou bail de location de moins de 3 mois ou quittance de loyer (si locataire), ou taxe d’habitation ; en cas d’hébergement chez un particulier : attestation de l’hébergeant datée et signée, copie de sa carte d’identité ou de sa carte de séjour, et acte de propriété (ou relevé de taxe d’habitation ou copie du bail de location de l’hébergeant ou facture d’électricité, gaz, eau, téléphone fixe ou accès à internet de l’hébergeant). เอกสารยืนยันการพำนักที่ระบุชื่อ-นามสกุลของสะใภ้ฯ  เพื่อยืนยีนว่าสะใภ้อาศัยอยู่ที่เดียวกับสามี 3 ฉบับ  (ฉบับละแห่ง) เช่น  ใบแจ้งค่าโทรศัพท์มือถือ ใบนัด OFII ค่าน้ำ แกส ไฟ เป็นต้น)
  4. 3 photographies d’identité récentes รูปถ่ายสี ขนาด 1 1/2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
  5. Justificatif d’acquittement de la taxe sur le titre de séjour et du droit de timbre au moment de la remise du titre.
  6. Déclaration sur l’honneur selon laquelle vous ne vivez pas en France en état de polygamie (ressortissant(e) d’un Etat autorisant la polygamie). สำหรับสะใภ้ฯ ไม่ต้องเตรียมหลักฐานใบรับรองความเป็นสามี-ภรรยาเดียว หรือ Attestation de non-polygamie เนื่องจากผู้ที่ต้องเตรียมเอกสารนี้ คือ ผู้ชายที่มาจากประเทศที่สามารถมีภรรยาได้หลายคน
  7. Justificatif de mariage : copie intégrale de l’acte de mariage correspondant à la situation au moment de la demande (en cas de mariage célébré à l’étranger, transcription du mariage sur les registres de l’état civil français). สมุดครอบครัว พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  8.  Nationalité française de votre conjoint : carte nationale d’identité en cours de validité ou certificat de nationalité. หนังสือเดินทางของสามี  พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  9. Communauté de vie : déclaration sur l’honneur conjointe du couple attestant de leur vie commune et tous documents permettant d’établir la communauté de vie (bail de location aux deux noms, quittance EDF, relevé d’identité bancaire, etc.), sauf si la vie commune a été rompue en raison de violences conjugales qui pourront être justifiées par tous moyens (dépôt de plainte, le cas échéant jugement de divorce pour faute, condamnation du conjoint pour violence, témoignages, attestations médicales...) ou en cas de décès du conjoint (acte de décès)  เอกสารยืนยันการพำนัก  3 ฉบับ (ของสามี) เช่น บิลต่าง ๆ
  10. Attestation de l’OFII de clôture ou de suivi du contrat d’accueil et d’intégration (CAI)  สัญญา Contrat d'accueil et intégration (สัญญาที่เซ็นกับ OFII) และ Attestation ต่างๆ ของ OFII พร้อมใบตรวจร่างกายของ OFII
สำหรับสะใภ้ฯ เขต 67 และ 68 (Bas-Rhin) สามารถดาวน์โหลด list เอกสาร และแบบฟอร์มที่ต้องกรอก ได้ที่ http://www.bas-rhin.gouv.fr/content/download/8290/54546/file/CONJOINT%20DE%20FRCS.pdf
สรุปรายการเอกสารที่ยื่นขอ Carte de séjour ครั้งแรกของ สะใภ้ฯ เขต 67 และ 68 (Bas-Rhin) มีดังนี้
  1. หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา 1 ฉบับ (ยังไม่หมดอายุ)
  2. สำเนาหน้าวีซ่าและหน้า OFII Stamp อย่างละ 1 ฉบับ
  3. สูติบัตรฉบับแปลที่มีตราประทับรับรอง (เจ้าหน้าที่คืนเอกสารให้ และไม่ได้ใช้)
  4.  สมุดครอบครัว หรือ Acte de mariage พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  5. รูปถ่ายสี ขนาด 1 1/2 นิ้ว จำนวน 3 รูป
  6. เอกสาร ยืนยันการพำนัก  3 ฉบับ (จดหมายที่ระบุชื่อ-นามสกุล สะใภ้ และที่อยู่เดียวกับสามี เช่น ใบแจ้งค่าโทรศัพท์มือถือ ใบนัด OFII เป็นต้น)
  7. ใบ Attestation D'hebergement (ใบรับรองว่าสะใภ้พักอาศัยที่เดียวกับสามี)
  8. สัญญา Contrat d'accueil et intégration (สัญญาที่เซ็นกับ OFII) และ Attestation ต่างๆ ของ OFII พร้อมใบตรวจร่างกายของ OFII
  9. หนังสือเดินทางของสามี พร้อมสำเนา 1 ฉบับ (ยังไม่หมดอายุ)
  10. เอกสารยืนยันการพำนัก  3 ฉบับ (ของสามี) เช่น บิลต่าง ๆ
ขอแนะนำว่าให้เตรียมเอกสารไปให้ครบ จะได้ไม่ต้องเสียเวลารอไปฟรีๆ และไม่ต้องมารอใหม่อีกรอบ

ขั้นตอนการยื่นขอ  Carte de séjour (Préfecture Bas-Rhin)
  • กดบัตรคิว เลือก Demande Visa
  • รอเรียกคิว 
  • ยื่นหนังสือเดินทางและเอกสารที่เคาน์เตอร์ หรือ Guichet เพื่อตรวจเช็คเอกสาร
  • รอเรียกคิวหมายเลขเดิม
  • ยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ 
  • กรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มที่เจ้าหน้าที่ยื่นให้ โดยกรอกนามสกุล-ชื่อ ของสะใภ้ และสามี และเซ็นชื่อทั้งสะใภ้และสามี Communauté de vie : déclaration sur l’honneur conjointe du couple attestant de leur vie commune et tous documents permettant d’établir la communauté de vie
  • Scan นิ้วมือ (ข้างขวา และ ซ้าย) โดยจะ scan นิ้วมือ 4 นิ้ว (ยกเว้นนิ้วโป้ง) ทีละข้าง ต้องกดลงไปแรงๆ จากนั้นจึง scan นิ้วโป้งทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน (การเก็บข้อมูลไบโอเมตริก (Biometric)
  • เซ็นชื่อ 2 ที่ บนเอกสารสำหรับระบบไบโอเมตริก (Biometric)
  • เจ้าหน้าที่จะถามความประสงค์ว่าต้องการชำระเงินค่าธรรมเนียมจำนวน 106 ยูโรเลยหรือไม่ หรือเลือกชำระในวันที่มารับ Carte de séjour 
  • เซ็นชื่อบนบัตร Récépissé de demande de carte de séjour และรับบัตร
ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บางที่อาจจะเร็วกว่าก็ได้ค่ะ เจ้าหน้าที่บอกว่าวันนี้คนน้อย ขนาดวันนี้คนน้อยกว่าทุกวันนะค่ะ!

หน้าตา Récépissé de demande de carte de séjour

Récépissé de demande de carte de séjour คืออะไร
ใบ récépissé de demande de carte de séjour คือ ใบที่ออกให้เป็นหลักฐานเมื่อยื่นขอ carte de séjour และใช้แทน carte de séjour ในระหว่างที่รอ Carte de séjour นั่นเอง

ข้อมูลใน récépissé de demande de carte de séjour ประกอบด้วย วันหมดอายุ (3 เดือนนับจากวันที่วีซ่าหมดอายุ) และทำที่ไหน วันไหน ไว้ที่มุมขวา (Valable jusqu'au) รูปถ่ายของผู้ถือบัตรและหมายเลขบัตร ด้านซ้ายจะมีข้อมูล นามสกุล-ชื่อของสะใภ้เอง วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด สัญชาติ นามสกุล-ชื่อ บิดาและมารดาของสะใภ้ สถานภาพสมรส ที่อยู่ ลายเซ็นผู้ถือบัตร

แถมมีข้อความระบุว่าเป็นการขอ titre de séjour เนื่องจากวีซ่าระยะยาว 1 ปี ที่ได้มาจากกรุงเทพฯ จะหมดอายุลงเมื่อใด และใบ récépissé นี้จะต้องใช้คู่กับ visa de long séjour และอนุญาตให้ผู้ถือบัตรทำงานได้  ทั้งนี้ สะใภ้สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ แม้ว่าวีซ่าจะหมดอายุ แต่มีเงื่อนไขว่าการเดินทางนั้นจะต้องไม่เกินวันหมดอายุที่ระบุไว้ในบัตร  เช่น วีซ่าของมาดามจะหมดอายุในวันที่ 13 มิถุนายน 2558 วันที่หมดอายุของบัตร récépissé de demande de carte de séjour ของมาดาม ระบุไว้วันที่ 13 กันยายน 2558  มาดามสามารถเดินทางไปไทยและกลับเข้ามาฝรั่งเศสได้หลังวีซ่าหมด แต่ต้องก่อนวันที่ 13 กันยายน ค่ะ

มาดามขอแนะนำว่าให้สะใภ้รีบดำเนินการยื่นขอ carte de séjour ล่วงหน้า 2 เดือน ยื่นแล้วจะได้สบายใจ เพราะเราได้ปฏิบัติตามระเบียบแล้ว หลังจากนั้นก็แค่รอหนังสือแจ้งว่าจะได้รับ carte de séjour เมื่อไหร่ นั่งนอนรอแบบสบายใจ ชิลๆ ค่ะ

Thursday, March 19, 2015

เรื่องของ Baguette

วันนี้มาดามมี mind map เกี่ยวกับคำว่า Baguette มาฝากจร้า 

หลายคนคงรู้จัก la baguette หรือขนมปังฝรั่งเศสเป็นอย่างดี เพราะเป็นทั้งสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของฝรั่งเศส แต่คำว่า Baguette ไม่ได้มีความหมายแค่ขนมปังฝรั่งเศสเท่านั้น มีอีกหลายความหมายเลยทีเดียว 

  
ตอนมาดามมาอยู่ที่ฝรั่งเศสใหม่ๆ มีวันนึงลองทำบะหมี่โฮมเมดทานเอง ลุงก็พูดว่ามี  baguettes นะ มาดามก็งงจะกินขนมปังฝรั่งเศสเพื่อเรียกน้ำย่อยก่อนค่อยทานบะหมี่เหรอ แล้วไหนละ baguette แล้วลุงแกก้อมาพร้อมตะเกียบ 2 คู่ เอิ่มนี่คือ baguettes เหรอ 555

ผ่านไปสักระยะนึง มาดามนั่งดูทีวี เค้าฉาย Harry Potter หนังโปรดของมาดาม (ตอนนั้นยังมีนกเอี้ยงเกาะหลังอยู่ ไม่รู้ว่าเปลี่ยน son เป็น VO หรือเปลี่ยนเป็น original soundtrack  เป็นภาษาอังกฤษได้ ก็ต้องทนฟังฝรั่งเศสไปแบบไม่ค่อยเข้าใจทุกคำพูด เดาๆ เอา) ได้ยินคำว่า baguette ตอนเรื่องไม้กายสิทธิ์ Elder Wand นั่นละค่ะ ทีนี้ก็ฮาเลย เฮ้ยประเทศนี้ อะไรๆ ก็จะเรียก baguette ไปหมดเหรอ ช่างไม่เหมือนภาษาอังกฤษเลย

ท้ายนี้ มาดามขอบอกว่า อะไรที่มีลักษณะเป็นแท่งตรงยาว คนฝรั่งเศสจะเรียกว่า baguette หมด เทียบเท่ากับคำว่า stick ในภาษาอังกฤษค่ะ 

แถมยังมีสำนวนที่ใช้คำว่า baguette ด้วย แต่จะเป็นในลักษณะของความเข้มงวด การอยู่ในโอวาท เชื่อฟังค่ะ พอดีวันนี้มาดามสนทนา discuss กับคุณครูว่าคำในภาษาฝรั่งเศส 1 คำ มักจะมีหลายความหมาย เช่น  baguette เป็นต้นค่ะ คุณครูเลยยกตัวอย่างสำนวน V.  être élévé à la baguette มาให้ฟัง ทำให้มาดามสามารถนำมาใส่ใน mind map เรื่อง baguette ของมาดามได้ค่ะ


Wednesday, March 18, 2015

เรื่องของชื่อ

วันนี้มาดามขอใช้ความรู้เท่าหางหมูของมาดามในการอธิบายเกี่ยวกับชื่อค่ะ เนื่องจากมีหลายคน (รวมถึงตัวมาดามเองด้วย) มีความสับสนเกี่ยวกับคำว่า Nom และ Prénom มาดูเทคนิคการจำของมาดามค่ะ

-Prénom ชื่อจริง หรือ first name ในภาษาอังกฤษ
คำว่า Prénom  คือ pré + nom
ให้จำว่า Pré มาก่อน หรือ แรก ชื่อแรก คือ ชื่อจริงนั่นเอง
pré ที่เป็น préfixe หรือ pre (prefix) ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ก่อน หรือ avant 

-Nom นามสกุล หรือ last name, surname ในภาษาอังกฤษ
โดยปกติชาวต่างชาติมักเรียกชื่อสกุลกันค่ะ เพื่อจะได้รู้ว่ามาจากที่ไหน ครอบครัวไหนค่ะ แต่คนไทยเราเรียกชื่อจริงมากกว่า เดาว่านามสกุลมันยาวเลยไม่นิยม 

-Nom de famille นามสกุล กรณีที่แต่งงานก็เป็นนามสกุลของสามีเรานะค่ะ หรือบางครั้งจะเจอคำว่า Nom d'épouse อันนี้ชัดเจนค่ะว่าเป็นนามสกุลของสามีเรา
-Nom de jeune fille นามสกุลก่อนแต่ง นามสกุลดั้งเดิมของเรานั่นเอง บางครั้งก็เจอคำว่า nom de naissance คือ นามสกุลตอนเราเกิดนี่ละค่ะ

ชื่อเล่น หรือ nickname   เนื่องจากชื่อจริงของคนไทยนี่ยาว เรียกยาก และมีค่านิยมในการตั้งชื่อเล่นเพื่อใช้เรียกในครอบครัว เพื่อนฝูง ที่ทำงาน คนสนิท ส่วนฝรั่งนี่ไม่มี ในทางกลับกันเขามีชื่อกลางกัน หรือ middle name ในภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า le deuxième prénom

-Surnom ชื่อเล่น บางครั้งก็ใช้คำว่า petit nom แต่ใน sense เดียวกับ nickname น่าจะใช้คำว่า surnom มากกว่าค่ะ ส่วน petit nom จะใช้เรียกชื่อแบบน่ารักๆ เหมือนฉายา ชื่อแทนตัวเอง/คนรัก/เพื่อน

ชื่อเล่นที่เรียกแทนคนรักในภาษาฝรั่งเศส Les petits noms d'amour
-mon chouchou, doudou, loulou
-mon amour
-mon bébé
-ma fée นางฟ้าของฉัน, ma belle
-mon ange

หวังว่าสาวๆ คงจะหายสับสันกับการใช้คำว่า Nom และ Prénom กันแล้วนะค่ะ เวลากรอกเอกสารเองจะได้ไม่เขียนผิดช่องด้วย

อีกนิดนึงเวลาเขียนชื่อที่ฝรั่งเศส จะต้องเขียน NOM ก่อนค่ะ เนื่องจากเอกสารราชการมักต้องการทราบที่มาที่ไป มาจากครอบครัว ตระกูลไหน เช่น
นางแตงไทย ขนมหวาน แต่งงานกับนายปิแอร์ ครัวซอง
เวลาเขียนชื่อ ให้เขียน Mme. CROISSANT  Taengthai (กรณีเปลี่ยนนามสกุลตามสามีเรียบร้อยแล้ว)
Mme. CROISSANT-KHANOMWAN Taengthai (กรณีที่ไม่ได้เปลี่ยนนามสกุลตามสามี ให้เขียนนามสกุลสามีก่อนแล้วขีดกลาง ตามด้วยนามสกุลเรา)
M. CROISSANT Pierre

ในทางกลับกัน ในฝรั่งเศสเวลาที่มีคนถามชื่อเรา หรือตอนเราแนะนำตัว ก็ให้บอกชื่อจริง ตามด้วยนามสกุลค่ะ En français, le prénom est en général donné avant le nom de famille.
เช่น
-Quel est votre nom?/ Quel est ton nom?
- Comment vous appelez vous? / Comment t'appelles tu?
-Je m'appelle Taengthai Croissant. หรือ
-Mon nom est Taengthai Croissant.

ท้ายสุดมาดามขอฝาก mind map หรือ une carte heuristique สำหรับการการแนะนำตัวให้สาวๆ นำไปใช้นะค่ะ





แว่นสายตาจากสิทธิ Carte Vitale และ Mutuelle

เมื่อวันศุกร์ที่แล้วมาดามไปรับแว่นสายตามาค่ะ ใช้สิทธิของ Carte Vitale และ Mutuelle ไม่เสียเงินสักบาท 555 จริงๆแล้วมันก็ไม่ได้ฟรีหรอกค่ะ เพราะสามีเป็นคนจ่ายเงินค่าประกันสุขภาพกับบริษัท Mutuelle
หากมีค่าส่วนต่างก็ต้องชำระให้ร้านแว่นตาไปค่ะ ในกรณีของมาดามมีส่วนต่าง 13€ แต่ได้รับส่วนลดเพราะสามีก็ใช้สิทธิซื้อแง่นสายตาที่นี่เช่นกันค่ะ แถมได้โปรโมชั่น ซื้อ1 ฟรี 1 เลยได้แว่นกันแดดฟรี

ประกันสังคม หรือ Carte Vitale จะออกค่าแว่นสายตาให้ประมาณ 9€ ค่ะ (tiers-patant ss (securité sociale) ที่เหลือตัดเข้า Mutuelle ประมาณ 290 กว่ายูโร (tiers-payant mut.)  ถ้าเทียบกับบ้านเรา เวลาไปหาหมอใช้บัตรประกันสังคมและประกันสุขภาพที่เราทำเองหรือนายจ้างทำให้ กับ AIA หรือ Bupa โรงพยาบาลก็จะตัดส่วนของประกันสังคมก่อน ที่เหลือตัดของประกันฯ หากมีส่วนเกินอีกก็ต้องควักกระเป๋าจ่ายไปค่ะ

ถ้าสาวๆ คนไหนสายตาสั้นก็แนะนำไปใช้สิทธิตัดแว่นสายตาเลยค่ะ ก่อนไปร้านแว่นต้องไปพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจวัดสายตาและมีใบ prescription เพื่อยื่นเป็นหลักฐาน พร้อมยื่น Carte Vitale กับ Tiers-payant ของ Mutuelle ค่ะ สำหรับข้อมูลการพบจักษุแพทย์สามารถอ่านได้ที่ http://chezbeameiz.blogspot.fr/2015/02/blog-post.html

**ขอย้ำว่าสิทธิใน mutuelle ของแต่ละบริษัท และกรมธรรม์อาจแตกต่างกันค่ะ ยังไงก็ตามร้านขายแว่นสามารถเช็คได่ค่ะ และคิดราคา บอกส่วนต่างให้ก่อนตัดสินใจซื้อค่ะ (เผื่อสาวคนไหนอยากถอย dior ก็ลองดูค่ะ แต่ราคาค่อนข้างแพง คงต้องออกส่วนต่างเยอะเหมือนกัน)

การซื้อแว่นใช้เวลาหน่อยค่ะ กว่าจะเลือกแว่นที่เข้ากับหน้าเรา และดั้งที่ไม่โด่งเท่าฝรั่ง ขั้นตอนนี้มาดามเดินเข้าออกร้านแว่นตาหลายรอบ เกือบเดือนกว่าจะตัดสินใจได้ และกว่าร้านจะสั่งของมาให้ ประมาณ 1 สัปดาห์ ถึงจะไปรับแว่นได้

ไว้ปีหน้าค่อยตัดแว่นใหม่ อิอิ

Tuesday, March 10, 2015

DILF คืออะไร

DILF คืออะไร 
DILF มาจากคำว่า Diplôme Initial de Langue Française คือ ประกาศณียบัตรความรู้ภาษาฝรั่งเศสขั้นเริ่มต้น ในฐานะที่เป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งใช้สำหรับบุคคลทั่วไปที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาฝรั่งเศสและเพิ่งเข้ามาอาศัยในประเทศฝรั่งเศส และเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาฝรั่งเศสน้อย



ทำไมบางทีเป็น DILF บางทีเป็น DELF?
DILF คือ การเรียนภาษาฝรั่งเศสในระดับเริ่มต้น คือ เริ่มจากศูนย์ ไม่มีพื้นฐานเลย หรือ พื้นฐานฝรั่งเศสไม่แน่น ส่วน DELF คือ การเรียนภาษาฝรั่งเศสในระดับ beginner และเป็นประกาศณียบัตรความรู้ภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน ถัดมาจาก  DILF นั่นเอง 

ระดับภาษาฝรั่งเศส




DILF เป็นการประเมินความรู้ภาษาฝรั่งเศส ทั้ง 4 ด้าน คือ ฟัง อ่าน พูด เขียน ส่วนการวัดระดับความรู้ทางภาษาฝรั่งเศสในระดับ DILF A1.1 จะเน้นที่ความเข้าใจในการฟังและการพูด

สาวๆ ที่เรียนคอร์สภาษาฝรั่งเศสกับ OFII จบแล้ว จะต้องสอบวัด DILF เพื่อให้ได้ใบประกาศณียบัตรมา ข้อสอบ DILF คะแนนเต็ม 100 คะแนน ต้องสอบผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 50 คะแนน และสอบปากเปล่า หรือ épreuves orals (Oral test)  35 คะแนนจาก 70 คะแนน เวลาในการสอบ คือ 1 ชั่วโมง 15 นาที


ข้อสอบ
ระยะเวลา
(นาที)
คะแนน
ความเข้าใจในการฟัง
  • เข้าใจประกาศทั่วไป
  • เข้าใจข้อความง่ายๆ
  • เข้าใจคำสั่ง
  • เข้าใจเรื่องข้อมูลตัวเลขและเวลา
25
35
 
ทักษะการอ่าน
  • เข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆ
  • เข้าใจคำสั่ง
  • เข้าใจข้อมูลพื้นฐาน
  • เข้าใจเรื่องตัวเลข
  • สามารถจดจำประเภทและหน้าที่ของคำได้
25
15
การพูด
  • การสัมภาษณ์
  • Expression activities:
    • ถามตอบเรื่องราคาได้
    • แนะนำบุคคลหรืออธิบายสถานที่ต่างๆได้
    •  สามารถพูดสื่อสารได้ว่าต้องการอะไร หรือ สามารถบอกนัดได้
    • สามารถระบุอาการเจ็บป่วยได้
10
35
การเขียน
  • สามารถเขียนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์
  • สามารถเขียนตัวเลข ราคา และวันที่ได้
  • สามารถกรอกแบบฟอร์มได้
  • สามารถเขียนข้อความง่ายๆได้
15
15
 
  คะแนนรวม
/100

ตัวอย่างข้อสอบ DILF สามารถดูได้ที่ http://www.ciep.fr/en/dilf
Bonne chance à tous! ขอให้โชคดี สอบผ่านทุกคนนะค่ะ

Monday, March 9, 2015

การทำบัตรรถบัสฟรี

โพสนี้สำหรับสาวๆ สะใภ้ฝรั่งเศสที่ว่างงานและต้องการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ว่างงาน คือ การทำบัตรรถบัสฟรี แน่นอนว่าเมื่อได้บัตรฟรี ก็ไม่ต้องจ่ายเงินค่ารถบัสไป-กลับ 4 ยูโรเลย แถมบัตรนี้มีอายุ 6 เดือน ถ้ายังอยู่ในสถานะว่างงานอยู่อีกก็ไปขอบัตรใบใหม่ได้ น่าสนไหมค่ะ

แล้วทำอย่างไรถึงจะได้บัตรขึ้นรถบัสฟรีล่ะ มีเงื่อนไขสำคัญเงื่อนไขเดียว คือ ต้องอยู่ในระบบของ Pôle Emploi เท่านั้น นั่นหมายถึง มีสถานะตกงานและอยู่ในระบบผู้ว่างงานของ Pôle Emploi จึงจะได้รับสิทธิประโยชน์นี้ มาดูหน้าตาบัตรกันค่ะ

การขอบัตรรถบัสฟรีทำอย่างไร?
1. สามารถยื่นขอทำบัตรรถบัสฟรีออนไลน์ได้จากเว็บของบริษัทรถบัส
2. ยื่นขอที่อู่รถบัสโดยตรง

มาดามขอแขร์ประสบการณ์การทำบัตรรถบัสฟรีของเขต 67 Bas-Rhin กับบริษัท CTBR นะค่ะ (แต่ละเขตอาจจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีบริษัทรถบัสคนละบริษัทกัน แต่หลักการน่าจะคล้ายๆกันบ้างในเรื่องเอกสารประกอบการยื่นขอบัตรรถบัสฟรี) ถ้าสาวๆ คนไหนอยู่เขต 67 ก็ทำตามได้เลยค่ะ

ขั้นตอนการยื่นขอบัตรรถบัสฟรีแบบออนไลน์สำหรับสะใภ้ฝรั่งเศสที่ว่างงานและอยู่ในระบบของ Pôle Emploi
1. เข้าไปที่เว็บของบริษัทรถบัส (กรณีของมาดาม คือ บริษัท CTBR) และคลิกที่ Tarifs et Formules (Tarifs คือ ค่ารถบัส หรือในภาษาอังกฤษเทียบเท่ากับคำว่า Fare)
2. คลิกที่ Demande de création BADGEO (การขอทำบัตรรถบัสฟรี) ในหน้านี้จะให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่างๆ สำหรับช่องที่มีวงกลมสีแดงพร้อมเครื่องหมายตกใจ (!) เป็นช่องที่ต้องกรอกข้อมูล ช่องไหนไม่มีเครื่องหมายนี้ ไม่ต้องกรอกข้อมูลก็ได้ค่ะ
ขั้นตอนแรก คือ การกรอกข้อมูลส่วนตัว
ขั้นตอนที่ 2 คือ เลือกสถานะ (ให้เลือกสถานะกำลังหางานและสมัครอยู่ในระบบของ Pôle Emploi แล้ว)
ขั้นตอนที่ 3 คือ การแนบไฟล์เอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น รูปถ่ายสี สำเนาหนังสือเดินทาง ประวัติย้อนหลังจาก Pôle Emploi
ตัวอย่างไฟล์ประวัติของ Pôle Emploi
หมายเหตุ  ไฟล์ประวัติของ Pôle Emploi สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บของ Pôle Emploi โดย log in เข้าไปในเพจของ Pôle Emploi และทำตามรูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Attestation Loi de Finances
ขั้นตอนที่ 4 คือ เลือกรับบัตระหว่างรับที่ Terminal หรือ ให้ส่งมาทางไปรษณีย์ (มาดามไปรับที่อู่รถบัสเอง ไม่ต้องยื่นเอกสารอะไรเลย จนท. ก็ออกบัตรให้เลย)

ขั้นตอนที่ 5 เป็นการยืนยัน

ง่าย ๆ ไม่อยากที่จะลองกรอกรายละเอียดเพื่อขอทำบัตรรถบัสฟรีใช่ไหมค่ะ ลองทำดูนะค่ะ มาดามอยากให้สะใภ้ได้ใช้สิทธิให้คุ้มค่ะ ในเมื่อสามีเราเสียภาษีเยอะมาก อย่างน้อยเราก็ควรใช้สิทธิที่รัฐบาลมอบให้นะค่ะ ส่วนบัตร Tram ฟรี สามีบอกว่าค่อนข้างยุ่งยาก เลยไม่ทำค่ะ

Bonne journée à tous!

Wednesday, March 4, 2015

การเขียน CV ภาษาฝรั่งเศส

เริ่มเข้า Printemps กันแล้ว วันนี้ขอนำตัวอย่างการเขียน CV หรือที่บ้านเราเรียกกันติดปากว่า Resume นะค่ะ

คำว่า CV ย่อมาจากคำว่า Curriculum Vitae ที่ประเทศฝรั่งเศสจะไม่นิยมใส่รูปใน CV เพื่อป้องกันการเลือกอย่างไม่เป็นธรรมในด้านเพศ และเชื้อชาติ

หลักการเขียน CV คือ กระชับ และต้องให้อยู่แค่หน้าเดียวเท่านั้น เนื่องจากคนฝรั่งเศสไม่ชอบอ่านอะไรที่เยื่นเย้อ

ตัวอย่าง CV ที่มาดามเอามาแชร์ให้สะใภ้ฝรั่งเศสที่ต้องการจะหางานทำแบบมาดาม เป็นตัวอย่างที่มาดามได้มาจาก ID Formation  ตอนไปสัมภาษณ์เรื่อง Bilan compétences professionelles ค่ะ
CV สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คือ ชื่อ ที่อยู่  E-mail และเบอร์โทร ที่สามารถติดต่อกลับมาได้

ส่วนที่ 2 คือ ประสบการณ์ทำงาน

ส่วนที่ 3 คือ การศีกษา เนื่องจากระบบการศึกษาไทยและฝรั่งเศสแตกต่างกัน จึงต้องจำคำศัพท์ที่ใช้เรียกวุฒิการศึกษาไว้ใช้
 -Master en... คือ ปริญญาโท สาขา เช่น Master en linguistique et communication ป. โท สาขาภาษาและการสื่อสาร
-Diplôme en คือ ปริญญาตรี สาขา เช่น Diplôme en droit (niveau maîtrise 4 années) คือ ป. ตรี กฎหมาย ศึกษา 4 ปี
-Certificat (équivalent du Bac ..) คือ วุฒิการศึกษาระดับมัธยมปลาย ซึ่งเทียบเคียงกับ Bac ของฝรั่งเศส สายศิลป์ภาษา เทียบเท่ากับ Bac L สายวิทย์ เทียบเท่ากับ Bac S เป็นต้น


ส่วนที่ 4 คือ ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ทักษะทางภาษา หรือ Langues étrangères ในที่นี้มาดามใช้ Bilingue หมายถึง สามารถใช้ภาษานั้นได้อย่างคล่องมาก คือ Excellent อาจจะใช้คำว่า courant ก็ได้ค่ะ แต่ครูผู้สอนภาษาฝรั่งเศสแนะนำให้ใช้ Bilingue (ภาษาอังกฤษ คือ bilingual)  ส่วน Informatique คือ ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น Microsoft Office ต่าง ๆ สุดท้ายคือ Activités de loisir คือ งานอดิเรก ชอบทำอะไรก็ใส่ไปค่ะ กรณีมาดามชอบถักนิตติ้งก็ใส่คำว่า Tricot ไปค่ะ (งานอดิเรก เป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้สัมภาษณ์สามารถประเมินถึงความชื่นชอบของเรา และ Attitude หรือ ทัศนคติได้ค่ะ)

มาดามลองร่อน CV ไป มีบริษัทติดต่อกลับมาค่ะ แสดงว่าการเขียน CV แบบนี้มันใช้ได้ แต่ปัญหาคือ สื่อสารไม่คล่อง เลยอดไปสัมภาษณ์งาน คงต้องรออีกหน่อย รอให้สามารถสื่อสารภาษาฝรั่งเศสได้คล่องกว่านี้ค่อยร่อน CV ใหม่ค่ะ